การลักเล็กขโมยน้อย เป็นพฤติกรรมที่ใครเจอก็ต้องส่ายหัว เพราะต้องคอยระแวงข้าวของของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางจิตเวชมีอยู่ 1 โรคที่ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมขโมยของ เรียกว่าโรคชอบขโมย
โรคชอบขโมย หรือ Kleptomania เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีความต้องการขโมยสิ่งของอย่างรุนแรง แม้ว่าสิ่งของนั้นจะไม่มีประโยชน์หรือมูลค่ามากนักก็ตาม พฤติกรรมนี้ไม่ได้เกิดจากความต้องการทางวัตถุหรือปัญหาทางการเงิน แต่เป็นผลมาจากความผิดปกติทางสมองที่ทำให้ควบคุมแรงกระตุ้นไม่ได้ โดยหลังจากขโมยแล้ว ผู้ป่วยมักจะรู้สึกเสียใจในภายหลัง แต่ก็ยังคงทำพฤติกรรมนี้ซ้ำ ๆ
4 step อาการของโรคชอบขโมย
- ความคิดหมกมุ่น ผู้ป่วยมักมีความคิดหมกมุ่นเกี่ยวกับการขโมยอยู่ตลอดเวลา
- ความตึงเครียด ก่อนการขโมย ผู้ป่วยอาจรู้สึกตึงเครียดและกระวนกระวาย
- ความรู้สึกโล่งใจ หลังจากขโมยแล้ว ผู้ป่วยจะรู้สึกโล่งใจและพึงพอใจชั่วคราว
- ความรู้สึกผิดและเสียใจ หลังจากความรู้สึกโล่งใจผ่านไป ผู้ป่วยจะรู้สึกผิดและเสียใจกับสิ่งที่ทำไป
การรักษาโรคชอบขโมย มักจะรวมถึงการรักษาหลายวิธีร่วมกัน เช่น การบำบัดทางจิตวิทยา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีควบคุมความคิดและพฤติกรรม, การใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาจ่ายยาเพื่อควบคุมอาการ เช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า หรือยาที่ช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง, เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนกับผู้ป่วยโรคเดียวกัน จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่โดดเดี่ยวและได้รับกำลังใจ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันโรคชอบขโมยที่แน่ชัด แต่การดูแลสุขภาพจิตที่ดี การจัดการกับความเครียด และการขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างหรือจิตแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคแกล้งป่วย เมื่อความเจ็บป่วยกลายเป็นการแสดง
การเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบางกรณี ความเจ็บป่วยกลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่าง
5 อาการ โรคหลายบุคลิก
บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะคนเรามักมีการปรับตัวเข้ากับสังคม
อย่าปล่อยให้ Hate Speech ทำลายสังคม
Hate speech หรือการพูดจาที่แสดงความเกลียดชัง เป็นปัญหาใหญ่ในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ การกระทำนี้ส่งผลกระทบต่อจิตใจ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH