ชอบคิด – ชอบทำอะไรซ้ำ อาจเข้าข่ายโรคย้ำคิดย้ำทำ

Share
ชอบคิด

พฤติกรรมชอบทำอะไรซ้ำๆ เช่น ล้างมือซ้ำๆ, ตรวจสอบประตูซ้ำๆ มีความคิดหมกมุ่นที่ควบคุมไม่ได้เกิดขึ้นซ้ำๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคย้ำคิดย้ำทำ ถึงแม้ว่าอาการเหล่านี้จะไม่รุนแรงถึงชีวิต แต่ก็สามารถส่งผลกระทบอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า  โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่สามารถพบได้ทั้งผู้ใหญ่ และเด็ก โดยพบได้ประมาณ 1.2% ของประชากร ซึ่งผู้ป่วยจะมีความกังวลหรือความสงสัย ไม่มั่นใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และพยายามแก้ไขความกังวล ความสงสัยนั้น ด้วยการทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำไปซ้ำมา

โรคย้ำคิดย้ำทำมี 2 องค์ประกอบ

  1. อาการย้ำคิด (Obsession) คือ มีความคิดหมกมุ่นที่ควบคุมไม่ได้ เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ไม่สามารถหยุดคิดได้ ถึงแม้ว่าตัวเองจะรู้ว่าความคิดนั้นจะไม่สมเหตุสมผล ก่อให้เกิดความวิตกกังวลเกินจริง เช่น กลัวเชื้อโรค,  หมกหมุ่นกับความเป็นระเบียบ, กลัวสิ่งไม่ดีจะเกิดขึ้นกับตัวเอง เป็นต้น
  2. อาการย้ำทำ (Compulsion) คือ การทำพฤติกรรมต่าง ๆ หรือ การคิดในทางตรงข้าม เพื่อพยายามลดความวิตกกังวลจากการย้ำคิด เช่น ล้างมือซ้ำ ๆ, ตรวจสอบประตูซ้ำ ๆ, ตรวจสอบปลั๊กไฟ หรือ เตาอบซ้ำ ๆ

อาการย้ำคิด-ย้ำทำ อาจพบร่วมกับความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอื่น ๆ เช่น ขยิบตาบ่อย ๆ ยักไหล่ กระตุกศีรษะหรือไหล่ หรือส่งเสียงผิดปกติ เช่น กระแอม คำราม หรือ พูดคำหยาบโดยควบคุมไม่ได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคย้ำคิดย้ำทำ

สำหรับการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การใช้ยา ร่วมกับ การทำจิตบำบัด โดยยากลุ่มหลักที่ใช้ในการรักษาโรคนี้คือ Serotonin selective reuptake inhibitors (SSRIs) ซึ่งจะช่วยปรับระดับของสารสื่อประสาท Serotonin ในสมองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ส่วนการจิตบำบัดนั้น จะเน้นไปที่การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy หรือ CBT) ผ่านเทคนิค Exposure and Response Prevention (ERP) โดยมีจุดมุ่งหมายคือการพยายามให้ผู้ป่วยหลุดพ้นวงจรย้ำคิด-ย้ำทำ ผ่านการพยายามยับยั้งการทำพฤติกรรมย้ำทำ เมื่อได้รับการกระตุ้น ซึ่งความร่วมมือกันระหว่างผู้ป่วย และทีมการรักษา เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการรักษา

นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์
จิตแพทย์ โรงพยาบาลBMHH – Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเพิ่มเติม