Othello Syndrome หึงมาก หวงมาก ต้นเหตุทำรักพัง

Share

ความรักที่สวยงาม เป็นสิ่งที่ใครก็ต้องการ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความรักที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน บางคนอาจเจอปัญหาแฟนขี้หึง ขี้หวงอย่างรุงแรง จนถึงขั้นเป็นโรคขี้หึง Othello Syndrome หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital  กล่าวว่า โรคขี้หึง (Othello Syndrome) เป็นความผิดปกติด้านจิตเวชอย่างหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจินตนาการว่าคนรักกำลังนอกใจไปมีคนอื่น หรือมีความหึงหวงอย่างรุนแรงต่อคู่รัก โดยไม่มีเหตุผล และจะพยายามหาหลักฐานว่าคู่รักของตัวเองกำลังนอกใจอยู่เสมอ แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนความคิดนี้ ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมามักจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจนำไปสู่ความรุนแรงทางกายหรือการทำร้ายคู่รักของตนเองได้

โรคขี้หึง Othello Syndrome ไม่ได้เป็นชื่อโรคที่มีระบุไว้ในคู่มือการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช แต่มีอาการคล้ายกับโรคหลงผิด (Delusional) ที่ผู้ป่วยมักไม่อยู่ในโลกความเป็นจริง และไม่ยอมเปลี่ยนแปลงความคิดของตนเองแม้จะมีหลักฐานมาแย้งก็ตาม

8 อาการของโรคขี้หึง(Othello Syndrome)

  1. ชอบกล่าวหาว่าคนรักนอกใจ ไม่ซื่อสัตย์กับตัวเอง 
  2. รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของคนรักมากเกินไป 
  3. มีพฤติกรรมหึงหวงอย่างรุนแรง เช่น ไม่ยอมให้มีเพื่อนต่างเพศ 
  4. ขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง เช่น คิดอะไรพูดอะไรก็ทำออกมาทันที 
  5. พยายามหาหลักฐานมาพิสูจน์ว่าคนรักนอกใจ
  6. หาเรื่องจับผิดคนรักบ่อยๆ 
  7. ใช้คำพูดรุนแรงเพื่อทำร้ายจิตใจคนรัก 
  8. ทำร้ายร่างกายตนเอง หรือคนรัก 

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคขึ้หึงอย่างชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากประสบการณ์ในวัยเด็ก หรือแผลทางใจในวัยเด็ก เช่น เคยเห็นพ่อแม่ถูกนอกใจ ทะเลาะกัน ครอบครัวแตกแยก, มีความผูกพันธ์ทางอารมณ์กับผู้เลี้ยงดูแบบไม่มั่นคง ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจในตัวเองลง  รู้สึกว่าไม่มีความมั่นใจในตัวเอง, มีการใช้สารเสพติดมากจนเกินไป ส่งผลให้การทำงานของสมองผิดปกติ และมีอาการเจ็บป่วยทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย

สำหรับการรักษาโรคขี้หึงจะต้องทำการรักษาโดยนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ซึ่งจะมีการรักษาดังนี้

อย่างไรก็ตาม โรคขี้หึง Othello Syndrome เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยและความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างอย่างมาก หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการที่เข้าข่ายโรคนี้ แนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องที่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้มีความสุขเหมือนเดิม

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล
จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธันวาคม 19, 2024
Midlife crisis วิกฤตวัยกลางคน โอกาสทองในการสร้างชีวิตใหม่

Midlife Crisis หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า "วิกฤตวัยกลางคน" เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคน

ธันวาคม 16, 2024
ป้องกัน Burnout ก่อนที่จะหมดไฟ

ภาวะ Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานนั้น ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่ความเหนื่อยล้าธรรมดา

ธันวาคม 13, 2024
6 วิธีรับมือกับคน Toxic

การต้องเผชิญหน้ากับคน Toxic หรือคนที่สร้างความเป็นพิษให้กับชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยใจ การปล่อยให้ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ

บทความเพิ่มเติม