เช็กอาการ โรคกลัว ที่อาจเป็นโดยไม่รู้ตัว

Share
โรคกลัว

ความกลัวเป็นอารมณ์พื้นฐานหนึ่งของทุกคน เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่จะเป็นอันตรายกับตัวเราเอง เช่น กลัวเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่า กลัวความสูง กลัวสัตว์ร้าย ซึ่งความกลัวเหล่านี้มักจะกระตุ้นให้เกิดการเตรียมตัวรับมือกับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

ส่วนโรคกลัว หรือ Phobia คือความรู้สึกกลัว และกังวลใจอย่างมาก กับสถานการณ์ที่ไม่ได้อันตราย เช่น การกลัวแมงมุมโดยที่ทราบว่าแมงมุมเองนั้นก็ไม่สามารถทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และความกังวลที่เกิดขึ้นไม่สามารถควบคุมได้และส่งผลกระทบต่องาน ความสัมพันธ์หรือการใช้ชีวิต

โรคกลัวเฉพาะอย่างแบ่งออกเป็น 4 ประเภทที่พบบ่อย

  1. กลัวปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น Astrophobia กลัวฟ้าร้องฟ้าผ่า, Aquaphobia กลัวน้ำ
  2. กลัวสัตว์ต่างๆ เช่น Cynophobia กลัวสุนัข, Ophidiophobia กลัวงู, Entomophobia กลัวแมลง
  3. กลัวสถานการณ์บางอย่าง เช่น Claustophobia กลัวที่แคบ, Acrophobia กลัวความสูง
  4. กลัวเลือด กลัวเข็มฉีดยา

สาเหตุของโรคกลัว

โรคกลัวอาจเกิดตามหลังประสบเหตุการณ์ที่รุนแรง เช่น ถูกสัตว์กัด, ติดอยู่ในลิฟต์, เกิดตามหลังจากเคยเห็นบุคคลอื่นเจอสถานการณ์ที่รุนแรง เช่น เคยเห็นคนจมน้ำ, เกิดจากมีอาการ panic attack ในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง เช่น ในรถสาธารณะ, หรือเกิดจากการได้รับข้อมูลบางอย่าง เช่น การรับข่าวเกี่ยวกับเครื่องบินตกมากๆ

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคกลัว

อาการของโรคกลัวเฉพาะอย่าง

อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวเองเกิดอาการกลัวจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ในด้านของการทำงานและความสัมพันธ์ สามารถรักษาได้โดยการค่อย ๆ เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวยิ่งได้รับการรักษาเร็วก็สามารถลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาสุขภาพจิตอื่นได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และการใช้สารเสพติด

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล

บทความที่เกี่ยวข้อง

มิถุนายน 27, 2024
เช็กลิสต์อาการ PTSD (Post-traumatic Stress Disorder)

คนที่เคยเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรงหรือสะเทือนใจ เช่น ทหารที่ผ่านการทำสงคราม ผู้ประสบภัยพิบัติ คนที่เคยถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกข่มขืน

มิถุนายน 27, 2024
ขี้กังวลไปหมดทุกเรื่อง อาจเข้าข่าย  “โรควิตกกังวลทั่วไป”

ปัจจุบันทุกคนต้องเผชิญกับความวิตกกังวล  ความเครียด จากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเรียน การสอบ เป็นต้น

มิถุนายน 25, 2024
โรคจิตหลงผิดภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ

การที่เรามีความเชื่อหรือความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องผิด แต่หากความเชื่อหรือความคิดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องจริง อาจเข้าข่าย “โรคจิตหลงผิด”

บทความเพิ่มเติม