ไขรหัส “ไซโคพาธ” โรคต่อต้านสังคมขั้นรุนแรง

Share
ไซโคพาร์ โรคบุคลิกภาพผิดปกติ ชนิดต่อต้านสังคมขั้นรุนแรง

เคยสงสัยหรือไม่ ว่าอะไรคือแรงผลักดันให้คนคนหนึ่งมีพฤติกรรมรุนแรง และไม่มีทีท่าว่าจะมีความรู้สึกผิดหรือเห็นใจผู้อื่นในสถานการณ์ความรุนแรงนั้น ในทางการแพทย์คนที่มีบุคลิกลักษณะนี้อาจเข้าข่ายโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า “โรคไซโคพาธ”

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital อธิบายว่า โรคไซโคพาธ (Psychopaths) เป็นความผิดปกติทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เป็นกลุ่มหนึ่งของโรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดต่อต้านสังคมขั้นรุนแรง ในทางการแพทย์เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างสมองส่วนหน้า และส่วนควบคุมอารมณ์ นอกจากนี้ คาดว่าอาจเกิดจากพันธุกรรม สภาพแวดล้อม และประสบการณ์ในวัยเด็ก เช่น ถูกทารุณกรรม ได้รับความรุนแรงจากคนในครอบครัวซ้ำ ๆ หรือได้รับการเลี้ยงดูที่ผิดวิธี ส่งผลให้มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม และแสดงอาการออกมาใน 4 ด้าน ดังนี้

เสน่ห์ของไซโคพาธเป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะไซโคพาธจะสามารถพูดจาหว่านล้อม หรือพูดโกหกได้ว่าตัวเองมีความเห็นอกเห็นใจ จนผู้อื่นเข้าใจว่านั่นคือตัวตนที่แท้จริงของเขา ท้ายที่สุดอาจกลายเป็นเหยื่อของไซโคพาธได้ เพราะฉะนั้นควรระวังตัวเองจากเสน่ห์ของไซโคพาธ เช่น ระวังคนที่พูดจาหวานและชอบเสนอสิ่งที่ดี ๆ ให้มากเกินจริง, อย่าหลงเชื่อคำพูด, สังเกตพฤติกรรมให้ดี ๆ ว่ามีความสอดคล้องกับคำพูดหรือไม่, หากสงสัยให้ลองตรวจสอบประวัติของพวกเขา, และให้เชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง หากรู้สึกว่าเริ่มอันตรายควรถอยออกมา

โรคไซโคพาธเป็นโรคที่รักษายากจนถึงขั้นรักษาไม่ได้ แต่หากจำเป็นต้องรักษา วิธีที่ดีที่สุดคือการทำจิตบำบัด ประเภทความคิดและพฤติกรรมบำบัด เพื่อดูว่าการที่เป็นไซโคพาธ เขามีความคิด ความรู้สึกและมีพฤติกรรมอะไรบ้าง จากนั้นต้องนำทั้ง 3 ประเด็นนี้มาวิเคราะห์ว่ามีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับชีวิตของเขาอย่างไร เมื่อวิเคราะห์จนเจอปมแล้ว นักจิตบำบัดจะพยายามคลี่คลายปมนั้นว่าสิ่งใดเป็นตัวกระตุ้น แล้วค่อย ๆ ให้แก้ทีละปม

อีกหนึ่งวิธีคือการกินยาตามอาการ เพราะไซโคพาธส่วนใหญ่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง หากมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย จะให้ยาลดอารมณ์หงุดหงิด

“โรคไซโคพาธ เป็นโรคทางจิตเวชที่รักษาได้ยาก เพราะลักษณะเฉพาะของไซโคพาธที่ชอบโกหก หรือตบตาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ทำให้เมื่อได้รับการทำจิตบำบัด เขาจะไม่สนใจและไม่ได้จริงจังในการทำบำบัด จึงไม่ได้ผลลัพธ์ในการรักษาเท่าที่ควร” แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์กล่าว

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤศจิกายน 21, 2024
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย

พฤศจิกายน 17, 2024
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา

ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

พฤศจิกายน 15, 2024
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD

โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา

บทความเพิ่มเติม