PTSD บาดแผลในใจที่ไม่มีใครมองเห็นหลังเจอเหตุการณ์รุนแรง

Share

เหตุการณ์เลวร้ายที่ผ่านมา อาจทิ้งบาดแผลในใจลึกกว่าที่คิดไว้ เพราะบางครั้ง จิตใจของเราก็เหมือนกับรอยแผลที่ต้องใช้เวลาเยียวยา ยิ่งถ้าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงและกระทบกระเทือนจิตใจอย่างมาก อาจนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า ‘PTSD’ หรือ โรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH- Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง Posttraumatic stress disorder (PTSD) เป็นความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับเหตุการณ์คุกคามที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง หรือเผชิญเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บที่อันตรายถึงชีวิต เช่น ภาวะสงคราม อุบัติเหตุร้ายแรง ถูกทารุณกรรม ถูกข่มขืน ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นประสบการณ์โดยตรง หรือการพบเห็นเหตุการณ์นั้น จนทำให้ผู้ป่วยอาจเห็นภาพในอดีต ฝันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รู้สึกวิตกกังวลโดยไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่งผลให้นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ โดยอาการจะค่อนข้างรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จนอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

อาการป่วยทางจิตจากภาวะเครียดหลังเจอเหตุการณ์สะเทือนใจนั้น จะแสดงอาการออกมา 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรกเกิดขึ้นภายใน 1 เดือนหลังเกิดเหตุการณ์เรียกว่า Acute Stress Disorder (ASD) หรือ โรคเครียดเฉียบพลัน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการเครียด แล้วเกิดอาการทางประสาทขึ้นมาได้ จากนั้นจะเข้าสู่ระยะที่ 2  โรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง Posttraumatic stress disorder (PTSD) คือ หลังผ่านเหตุการณ์มาแล้ว 1 เดือน ทำให้มีความรู้สึกดังนี้ 

สาเหตุของโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรงแบ่งเป็น ด้านจิตใจ และด้านชีวภาพ

  1. ด้านจิตใจ เมื่อจิตใต้สำนึกถูกกระตุ้นโดยเหตุการณ์ที่รุนแรง ทำให้ผู้ป่วยเกิดพฤติกรรมถดถอย และใช้กลไกป้องกันจิตใจตัวเองที่ไม่เหมาะสมจนเกิดอาการต่าง ๆ และผู้ป่วยเชื่อมโยงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เตือนให้นึกถึง เช่น  เช่น ภาพ เสียง กลิ่น ทำให้พอเจอสิ่งเตือนก็จะมีอาการหวาดกลัวราวกับเจอเหตุการณ์นั้นจริง ๆ 
  2. ด้านชีวภาพ พบว่ามีความผิดปกติของสารสื่อประสาทบางตัว หรือความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานไวเกิน การอยู่ในความเครียดนานจะมีผลทำลายเซลล์สมอง ทำให้สมองบางส่วนมีขนาดเล็กลง 

สำหรับการรักษาจะมีการรักษาด้วยยา โดยยาหลักคือกลุ่มยาต้านเศร้า จะให้ยาเท่ากับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า และควรให้ยานานอย่างน้อย 1 ปี และการรักษาด้วยจิตบำบัด เช่น ความคิดพฤติกรรมบำบัด (cognitive behavior therapy) สิ่งสำคัญคือ การให้กำลังใจ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึก ความคิด เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เผชิญมาเท่าที่ผู้ป่วยต้องการ โดยไม่ต้องลงรายละเอียดของเหตุการณ์ เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงจากการรู้สึกว่าเหตุการณ์เกิดซ้ำ ช่วยแนะนำวิธีปรับตัว ฝึกผ่อนคลาย ส่งเสริมให้ญาติมีส่วนช่วยเหลือประคับประคองผู้ป่วย, วิธีบำบัดบาดแผลทางใจ (EMDR) ที่ให้ผู้ป่วยนึกถึงเหตุการณ์ไปพร้อมกับมองตามนิ้วมือของผู้รักษาที่เคลื่อนไหวไปมาตามขวาง และการบำบัดความกลัวด้วยการเผชิญหน้ากับความกลัว ให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับเหตุการณ์อีกครั้งผ่านการจินตนาการ

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล 
จิตแพทย์โรงพยาบาลBMHH- Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤศจิกายน 21, 2024
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย

พฤศจิกายน 17, 2024
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา

ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

พฤศจิกายน 15, 2024
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD

โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา

บทความเพิ่มเติม