
เด็กในยุคดิจิทัลเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี แต่การปล่อยให้ลูกเล่นสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตนานเกินไป อาจไม่ได้ส่งผลดีอย่างที่คิด เพราะการจดจ่อกับหน้าจอที่เปลี่ยนภาพอย่างรวดเร็ว อาจกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็ก “สมาธิสั้น” ได้โดยไม่รู้ตัว
เด็ก “ติดโทรศัพท์” เป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อภาวะสมาธิสั้นหรือไม่ ?
ปัจจุบันการใช้สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตในเด็กเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองโดยตรง การจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ทำให้สมองของเด็กต้องประมวลผลข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความสามารถในการจดจ่อกับสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหวช้าลง โดยมีข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ ดังนี้
- การเลี้ยงเด็กด้วยสมาร์ตโฟน มีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมของเด็ก ทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น (ADHD) เพราะเด็กที่พึ่งพาการใช้สมาร์ตโฟนมากเกินไป จะมีแนวโน้มทำให้เกิดปัญหาด้านสมาธิ การจดจ่อ และการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมมากขึ้น ผู้ปกครองที่สามารถควบคุมและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีได้ดี จะช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงของภาวะสมาธิสั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การดูวิดีโอหรือเล่นเกมที่กระตุ้นระบบประสาทมากเกินไป อาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมติดกระตุ้น (Hyperstimulation) ทำให้ไม่สามารถโฟกัสกับสิ่งที่ไม่มีสิ่งเร้าได้
ตัวอย่างพฤติกรรมของเด็กที่ติดโทรศัพท์ และเสี่ยงภาวะสมาธิสั้น
- ใช้เวลาหน้าจอมากกว่าที่กำหนด และควบคุมตัวเองไม่ได้
- มีอารมณ์ฉุนเฉียวหรือหงุดหงิดง่ายเมื่อไม่ได้ใช้โทรศัพท์
- มีปัญหาในการจดจ่อกับการเรียนหรือกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิเป็นเวลานาน
ผลกระทบของการใช้หน้าจอเกินขนาดต่อพัฒนาการเด็ก
อาการที่กล่าวไปในข้างต้น จะเห็นได้ว่าการที่เด็กเล่นโทรศัพท์มากเกินไป โดยไม่มีแนวทางหรือวิธีแก้ไขที่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบจนกลายเป็นภาวะสมาธิสั้น ซึ่งเด็กจะต้องเผชิญกับผลกระทบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อพัฒนาการในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้
- ด้านการเรียนรู้และสมาธิ : การใช้หน้าจอมากเกินไปอาจลดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เพราะสมองเคยชินกับการรับข้อมูลเร็ว ๆ และทำให้มีปัญหาในการจดจ่อกับสิ่งที่ต้องใช้สมาธิ
- ด้านพัฒนาการทางภาษา : เด็กที่ใช้หน้าจอมากเกินไป มักมีปัญหาการพัฒนาทางภาษาช้ากว่าเด็กที่ได้รับการปฏิสัมพันธ์จากพ่อแม่หรือผู้ปกครองโดยตรง
- ด้านอารมณ์และสังคม : เด็กที่ติดโทรศัพท์มาก อาจมีปัญหาในการพัฒนาทักษะทางสังคม มีความอดทนน้อย และไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ตนเองได้ดี
“เด็กเล่นโทรศัพท์มากเกินไป” พ่อแม่มีวิธีแก้อย่างไร ?

หากเริ่มรู้สึกได้ว่าลูกของคุณกำลังมีพฤติกรรมติดโทรศัพท์ จนส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ สมาธิ รวมไปถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ผิดแปลกไป ผู้ปกครองสามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ ด้วยวิธีการเหล่านี้
- กำหนดเวลาการใช้หน้าจอตามช่วงวัย เช่น ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวันสำหรับเด็กเล็ก และไม่เกิน 2 ชั่วโมงสำหรับเด็กโต
- สร้างกิจกรรมทางเลือก เช่น กีฬา งานศิลปะ การอ่านหนังสือ หรือกิจกรรมที่ใช้สมาธิ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะอื่น ๆ
- เป็นแบบอย่างที่ดี ผู้ปกครองควรแสดงให้เห็นถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างสมดุล เช่น ไม่ใช้โทรศัพท์ในระหว่างการรับประทานอาหารหรือก่อนนอน
- ใช้เทคนิคค่อย ๆ ลดการใช้งาน เช่น การกำหนดช่วงเวลาที่ไม่มีหน้าจอในแต่ละวัน และให้รางวัลเมื่อลูกทำได้ตามเป้าหมาย
คำแนะนำการเลี้ยงลูกในยุคดิจิทัล ลด ละ เลิก พฤติกรรมติดโทรศัพท์
สำหรับผู้ปกครองยุคดิจิทัลที่เล็งเห็นความสำคัญและต้องการหาวิธีให้บุตรหลานเลิกติดโทรศัพท์ และแท็บเล็ต สมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกา และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย มีคำแนะนำที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ดังนี้
- เด็กอายุต่ำกว่า 1.5-2 ปี ไม่ควรใช้หน้าจอเลย ยกเว้นการใช้ Video Call กับผู้ปกครองที่อยู่ห่างไกล
- เด็กอายุ 2-5 ปี ควรใช้หน้าจอไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง โดยมีผู้ปกครองร่วมดูและชี้แนะ
- เด็กอายุมากกว่า 5 ปี ควรใช้หน้าจอไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง และเลือกสื่อที่เหมาะสมกับวัย
หากผู้ปกครองครอบครัวใด กำลังเผชิญกับพฤติกรรมลูกน้อยติดโทรศัพท์มากเกินไป และมีความเสี่ยงจะเข้าข่ายสมาธิสั้น สามารถเข้ารับคำปรึกษาและดูแลได้ที่ Bangkok Mental Health Hospital โรงพยาบาลจิตเวชในเครือโรงพยาบาลเวชธานี เรายินดีอยู่เคียงข้างให้คุณก้าวข้ามความไม่สบายใจในทุกสถานการณ์
นัดหมายเข้าพบจิตแพทย์เด็กและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทรศัพท์: 02-589-1889
LINE Official Account: @bmhh
บทความที่เกี่ยวข้อง

ชนิดของโรคซึมเศร้า รู้เท่าทัน รับมือถูกวิธี
โรคซึมเศร้า อาการป่วยทางใจที่ไม่ใช่เพียงแค่มีความรู้สึก […]

โรคแพนิคคืออะไร ? มีวิธีบรรเทาอาการอย่างไรบ้าง
โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่ปรา […]

ลูกไม่ตั้งใจเรียน เหตุเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน
คุณพ่อคุณแม่ย่อมคาดหวังให้ลูกตั้งใจศึกษาเล่าเรียน และมี […]
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH