โรคจิตเภท หรือ Psychosis เป็นโรคจิตเวชที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการ หูแว่ว ประสาทหลอน พฤติกรรมผิดปกติ ก้าวร้าว และเกิดความเชื่อแปลก ๆ เช่น เชื่อว่าผู้อื่นมีความประสงค์ร้ายกับตัวเอง หากเป็นแล้วมักรักษาไม่หายขาด ส่วนใหญ่มีอาการกำเริบเป็นช่วง ๆ รักษาแล้วอาจมีอาการหลงเหลืออยู่บ้าง ซึ่งโรคนี้ได้สร้างความเสียหายกับผู้ป่วยและสร้างความทุกข์ให้กับครอบครัว คนรอบข้าง
ส่วนการรักษาจิตแพทย์จะพูดคุยเพื่อประเมินและวินิจฉัย ซึ่งการรักษาหลัก ๆ คือ การกินยากลุ่ม Antipsychotics หรือยาต้านอาการทางจิต เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งตัวรับสารสื่อประสาทโดพามีนเพื่อลดอาการที่เกิดจากภาวะทางจิต นอกจากการกินยายังมีการทำจิตบำบัดกับตัวผู้ป่วย และครอบครัวก็มีส่วนช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น
การทำครอบครัวบำบัดรักษาโรคจิตเภทนั้น ไม่ใช่การพยายามหาต้นตอว่าใครในครอบครัวที่เป็นปัญหา แต่เป็นการพยายามหาจุดแข็งในครอบครัว นำมาใช้ประโยชน์ในการศึกษา และช่วยให้ครอบครัวเข้าใจวิธีที่จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการลดน้อยลง
การรักษาครอบครัวบำบัด ประกอบด้วย
- การสร้างความเข้าใจในตัวโรค และอาการของผู้ป่วย รวมถึงวิธีการในการรับมือกับอาการของผู้ป่วย
- การเปิดพื้นที่ให้สมาชิกในครอบครัว ได้มีโอกาสพูดคุยถึงความกังวล และความห่วงใยที่มีต่อตัวผู้ป่วย และบุคคลรอบข้าง
- การนำจุดแข็งของครอบครัวมาใช้ในการช่วยให้ผู้ป่วย และบุคคลรอบข้างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- การช่วยกันคิดวิธีการแก้ไขปัญหา และวิธีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ การดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทต้องเริ่มจากการเข้าใจผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจสร้างความรำคาญเดือดร้อน จึงควรให้อภัยไม่ถือโทษผู้ป่วย, ไม่ควรโต้เถียงกับผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการทางจิต แต่ควรแสดงความเห็นใจในความทุกข์ที่ผู้ป่วยได้รับจากอาการทางจิต รวมทั้งเสนอความช่วยเหลือด้วยความอดทน, กระตุ้นแต่ไม่บังคับ เช่น กระตุ้นให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง ช่วยทำงานบ้านอย่างง่าย ๆ โดยไม่ใช้การบังคับ และควรหลีกเลี่ยงการตำหนิติเตียนผู้ป่วยโดยไม่จำเป็นและดูแลผู้ป่วยเรื่องการกินยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง
นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์
จิตแพทย์ผู้ใหญ่
บทความที่เกี่ยวข้อง
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
อยู่กับข่าวร้ายอย่างไร ให้ใจไม่สลาย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าข่าวสะเทือนใจ ข่าวภัยพิบัติ ข่าวอุบัติเหตุ หรือข่าวความรุนแรง มักสร้างอารมณ์ด้านลบให้กับเราเสมอ ซึ่งการการเสพข่าวประเภทบ่อย
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH