ขี้อาย ติดอยู่ในโลกส่วนตัว อาจเป็นสัญญาณของโรคกลัวการเข้าสังคม

Share

ปัจจุบันโซเชียลมีเดียทำให้การสื่อสาร การเข้าสังคมเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น แต่บางคนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆได้เหมือนคนอื่นโดยอาจจะรู้สึกกังวลเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องพบปะ ผู้คน และกลัวว่าจะถูกผู้อื่นมองหรือตัดสินในทางลบจนส่งผลให้หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม ซึ่งอาการแบบนี้หลายคนอาจไม่รู้ว่า นั่นคือ “โรคกลัวการเข้าสังคม” ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์โรงพยาบาลBMHH- Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรควิตกกังวลที่สามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะเพศหญิง หรือเพศชาย โดยอาการจะเด่นชัดในช่วงวัยรุ่น ส่งผลให้มีอาการวิตกกังวลหรือกลัวหากต้องเข้าสังคม และต้องพบปะผู้คนที่ไม่คุ้นเคย ทำให้ผู้ป่วยพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้  

ลักษณะอาการของคนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคม

สาเหตุโรคกลัวการเข้าสังคมสามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น สารเคมีในสมองที่เปลี่ยนแปลงไป, คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรควิตกกังวล, สภาพแวดล้อม เช่น มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ถูกเพื่อนรังแก,ความกดดันจากการทำงาน และความผิดปกติด้านร่างกาย เช่น ใบหน้าเสียโฉม พูดติดอ่าง

โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder)สามารถรักษาให้หายได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยวิธีที่มักนำมาใช้รักษา ได้แก่ การรักษาด้วยยา ซึ่งยาที่ใช้รักษาโรคกลัวสังคมมักเป็นยาในกลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้าหรือยาต้านความวิตกกังวล ยาเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ  และการบำบัดด้วยการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy)  จะเป็นการพูดคุยกับนักจิตบำบัด หรือจิตแพทย์เพื่อจัดการกับความกังวลด้วยการผ่อนคลายร่างกาย และปรับความคิดแง่ลบให้เป็นบวก ซึ่งถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรควิตกกังวล

อย่างไรก็ตาม โรคกลัวการเข้าสังคม อาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียโอกาสในชีวิต เช่น โอกาสในการเรียน การทำงาน บางคนที่มีอาการรุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้นหากใครมีอาการกลัวสังคมต่อเนื่องกันนานเกิน 6 เดือน ควรรีบมาพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม 

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล
จิตแพทย์โรงพยาบาลBMHH- Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธันวาคม 19, 2024
Midlife crisis วิกฤตวัยกลางคน โอกาสทองในการสร้างชีวิตใหม่

Midlife Crisis หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า "วิกฤตวัยกลางคน" เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคน

ธันวาคม 16, 2024
ป้องกัน Burnout ก่อนที่จะหมดไฟ

ภาวะ Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานนั้น ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่ความเหนื่อยล้าธรรมดา

ธันวาคม 13, 2024
6 วิธีรับมือกับคน Toxic

การต้องเผชิญหน้ากับคน Toxic หรือคนที่สร้างความเป็นพิษให้กับชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยใจ การปล่อยให้ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ

บทความเพิ่มเติม