การละเมอ เป็นอาการที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงที่หลับลึกหรือเปลี่ยนจากช่วงหลับลึกเป็นหลับตื้น ขณะที่มีอาการละเมอจึงไม่รู้สึกตัวและมักจำจะไม่ได้เมื่อตื่นขึ้นมา
ในทางจิตเวชพฤติกรรมนี้ว่าโรคละเมอ หรือ Somnambulism เป็นภาวะการนอนหลับที่ผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก พันธุกรรม, การนอนหลับไม่เพียงพอ, ความเครียด วิตกกังวล, การดื่มแอลกอฮอล์, หรือมีการใช้ยาบางชนิด
ส่งผลให้มีพฤติกรรมเหล่านี้
- เดินไปเดินมาขณะหลับ
- พูดคุยคนเดียว
- ลืมตาแต่ไม่รู้สึกตัว
- ทำกิจกรรมซ้ำ ๆ เช่น การแต่งกาย การทานอาหาร
นอกจากนี้อาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่เสี่ยงเกิดอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่นได้ เช่น ออกไปนอกบ้าน ขับรถ ตกจากที่สูง มีเพศสัมพันธ์โดยไม่รู้ตัว โดยที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนหลับได้ และรู้สึกง่วงนอน อ่อนเพลีย หลังตื่นนอน
โรคละเมอเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ เช่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับ สร้างบรรยากาศการนอนที่ดี ลดความเครียด วิตกกังวล หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หากมีอาการที่รุนแรงแนะนำให้พบแพทย์ เพื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าซ่อนเร้น
อาการซึมเศร้าอาจแฝงตัวอยู่ในพฤติกรรมที่ดูปกติ แต่กลับส่งผลกระทบลึกซึ้งโดยไม่ทันรู้ตัว การเรียนรู้ที่จะสังเกตและเข้าใจสัญญาณ
ปลดล็อกศักยภาพ พร้อมเผชิญหน้ากับ Impostor Syndrome
ใครเคยเป็นบ้าง รู้สึกไม่มั่นใจในศักยภาพของตัวเอง ต่อให้คนอื่น ๆ จะชื่นชมเราแค่ไหน ก็มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า “เราดีจริงๆ
“สุขภาพจิตของครู”
วันที่ 16 มกราคมของทุกปี เป็นวันครูแห่งชาติ วันที่ทุกคนหันมาระลึกถึงความสำคัญของครูผู้เป็นเสาหลักในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH