ความเครียด ภัยเงียบทำลายสุขภาพจิตและสุขภาพกาย

Share
ความเครียด ภัยเงียบทำลาย

ความเครียดเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกเพศทุกวัย จากการใช้ชีวิตที่มีความกดดัน และความคาดหวังในชีวิตสูง ทำให้บางคนมีอาการเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ลำไส้แปรปรวน แผลในกระเพาะอาหาร อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ และยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ เช่น  โรคซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน โรควิตกกังวล 

การตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด

  1. สารสื่อประสาท คือความเครียดจะทำให้สารสื่อประสาทเสียสมดุล เมื่อพบความเครียดเรื้อรัง ร่างกายจะปรับตัวให้ทนกับความเครียดเดิม แต่ถ้าเจอความเครียดเรื่องใหม่จะมีการตอบสนองที่ไวมากกว่าเดิม
  2. ระบบต่อมไร้ท่อ ความเครียดจะเพิ่มการหลั่งฮอร์โมน ส่งผลให้มีการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบสืบพันธุ์ และการเจริญเติบโต
  3. ระบบภูมิคุ้มกัน ความเครียดจะยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

การรักษาความเครียดมีทั้งการรักษาด้วยยาและการทำจิตบำบัด 

สำหรับการป้องกันความเครียด สามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น, ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การหายใจลึก ๆ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนั่งสมาธิ โยคะหรือไทเก็ก, ไม่คิดเชิงลบ หมั่นคิดบวกและขอบคุณสิ่งดี ๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวัน, เรียนรู้ที่จะปฏิเสธงานเพิ่มหากยุ่งหรืองานหนักเกินไป, ทําสิ่งที่ทําให้เรายิ้มได้และเรียนรู้ที่จะยอมรับว่าเราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างได้ดั่งใจ และติดต่อกับคนที่เรารัก เพื่อน หรือคนที่ทําให้เราหัวเราะได้ พวกเขาเหล่านี้สามารถเป็นแรงสนับสนุนจิตใจทำให้เราก้าวผ่านปัญหาไปได้ และทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว

อย่างไรก็ตาม ความเครียดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่หากสามารถรับมือกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรงได้ แต่ถ้าความเครียดส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตแนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อพูดคุยและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม 

พญ.ณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

กันยายน 5, 2024
หัวเราะจนขาดใจ? อันตรายของ “แก๊สหัวเราะ” ที่คุณควรรู้

เคยเห็นคนเป่าลมจากลูกโป่งสีสันสดใสแล้วหัวเราะคิกคักกันบ้างไหม? รู้หรือไม่ว่าลูกโป่งเหล่านั้นอาจบรรจุ "แก๊สหัวเราะ" หรือไนตรัสออกไซด์

สิงหาคม 29, 2024
5 วิธีพัฒนา Self esteem เพิ่มคุณค่าในตัวเอง

การเปรียบเทียบเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เรา บางคนอาจจะถูกผู้อื่นเปรียบเทียบ หรือเราเองไปเปรียบเทียบกับคนนั้นคนนี้ก็มี ซึ่งในทางบวกการเปรียบเทียบ

สิงหาคม 29, 2024
เบื้องหลังคนที่ชอบเรียกร้องความสนใจ ทำตัวเด่น อาจเป็น “โรคฮิสทีเรีย”

ในชีวิตคนเราทุกคนล้วนพบเจอคนหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีอารมณ์แปรปรวนง่าย หรือชอบทำตัวเป็นจุดเด่น เพื่อดึงดูดความสนใจจากคนรอบข้าง

บทความเพิ่มเติม