กล้ามเนื้อกระตุก กระพริบตาถี่ นี่อาจเป็นสัญญาณของโรค Tic disorders ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องระบบประสาท ทำให้เกิดการกระตุกหรือการเคลื่อนไหวและการออกเสียงที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมได้ มักจะเกิดซ้ำๆ และอาจรุนแรงขึ้นในช่วงที่มีความเครียดหรือความกังวล อาการนี้สามารถพบได้ตั้งแต่เด็ก และมีความซับซ้อนมาก
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ ยังไม่สามารถทราบได้แน่ชัด แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พันธุกรรม, ความไม่สมดุลของสื่อประสาทในสมอง, และความเครียด
Tic disorders แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่
- Transient Tic Disorder เป็นอาการที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ มักไม่เกิน 12 เดือน อาการนี้พบบ่อยในเด็ก และอาจหายไปเองเมื่อเด็กโตขึ้น
- Chronic Tic Disorder อาการจะเกิดขึ้นมากกว่า 1 ปี โดยอาจเกิดจากการกระตุกของกล้ามเนื้อ (Motor Tics) หรือการส่งเสียง (Vocal Tics) อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ไม่เกิดร่วมกัน
- Tourette’s Syndrome เป็นประเภทที่รุนแรงที่สุด ซึ่งจะมีอาการทั้ง Motor Tics คือ กะพริบตา ขยับหน้า กระตุกที่คอหรือไหล่ การเคลื่อนไหวของแขนหรือขาที่ไม่สามารถควบคุมได้ และ Vocal Tics คือ การไอ เสียงขับลม เสียงร้องแปลกๆ การพูดคำหรือวลีซ้ำๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ร่วมกัน โดยอาจพบอาการเหล่านี้เป็นเวลานานและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
การวินิจฉัยและการรักษา Tic disorders จำเป็นต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ทางระบบประสาทหรือจิตแพทย์เด็ก โดยแพทย์จะทำการตรวจอาการทางกายและประเมินประวัติทางการแพทย์ ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาที่ช่วยลดอาการ Tic ลดความวิตกกังวล, การทำพฤติกรรมบำบัด, และการจัดการสิ่งแวดล้อมและความเครียดเพื่อช่วยลดความรุนแรงของอาการ Tic ได้ โดยเฉพาะในเด็ก
Tic disorders ไม่ใช่เพียงแค่การกระตุกธรรมดา แต่เป็นภาวะที่ต้องการการดูแลและความเข้าใจจากคนรอบข้าง หากท่านหรือบุตรหลานมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคแกล้งป่วย เมื่อความเจ็บป่วยกลายเป็นการแสดง
การเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบางกรณี ความเจ็บป่วยกลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่าง
5 อาการ โรคหลายบุคลิก
บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะคนเรามักมีการปรับตัวเข้ากับสังคม
โรคชอบขโมย ไม่ใช่แค่ “ขโมย” แต่เป็น “โรค”
การลักเล็กขโมยน้อย เป็นพฤติกรรมที่ใครเจอก็ต้องส่ายหัว เพราะต้องคอยระแวงข้าวของของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางจิตเวชมีอยู่ 1
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH