ขี้เกียจไปเรียน หรือเป็นภาวะหมดไฟในการเรียน

Share

ชีวิตในวัยเรียนเป็นช่วงเวลาที่มีทั้งความสนุก ความเศร้า ความเครียดจากการเรียน จึงทำให้เด็กบางคนอาจหมดแพชชั่นในการเรียน และอาจทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นภาวะหมดไฟในการเรียนโดยไม่รู้ตัว (Academic Burnout)

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์โรงพยาบาลBMHH- Bangkok Mental Health Hospital  กล่าวว่า  ภาวะหมดไฟในการเรียน (Academic Burnout) คือภาวะที่นักเรียน นักศึกษา เผชิญกับความเครียดและความกดดันจากการเรียน การสอบ เป็นระยะเวลานาน จนเกิดความรู้สึกเบื่อ ไม่มีสมาธิเรียน ไม่อยากอ่านหนังสือ และไม่อยากไปโรงเรียน ทำให้ส่งผลต่อประสิทธิการเรียนและสุขภาพร่างกาย ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรัง อารมณ์หม่นหมอง หรือเป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้

สัญญาณเตือนภาวะหมดไฟในการเรียน 

หมดไฟในการเรียน เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น มีปริมาณการบ้านหรือเนื้อหาที่ต้องเรียนมากเกินไป, สั่งงานในเวลากระชั้นชิด,  เกิดความกดดัน ความคาดหวังสูง, ความยากของเนื้อหาในการเรียน, ต้องเรียนในวิชาที่ไม่ชอบ ไม่ถนัด และมีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้น หรือคุณครู อาจารย์

การป้องกันภาวะหมดไฟในการเรียน อาจจะเริ่มต้นด้วยการคุยกับเพื่อนเวลารู้สึกเครียดกับเรื่องการเรียนเพื่อสร้างความผ่อนคลาย จัดสัดส่วนเวลาเรียน กับการพักผ่อนให้ชัดเจน เพื่อช่วยลดความเครียด จัดสภาพแวดล้อมบนโต๊ะเรียนให้เหมาะสมน่าเรียน และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้หลั่ง Growth Hormone ในการซ่อมแซมร่างกายตัวเอง และจะได้ตื่นมากระปรี้กระเปร่าต้อนรับเช้าวันใหม่ 

อย่างไรก็ตามภาวะหมดไฟในการเรียนอาจดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่ถ้าปล่อยไว้นานอาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้ หากสังเกตอาการตัวเองและคนรอบข้างได้เร็ว ก็สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองต่อตัวเองและการเรียนได้ทัน แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นควรเข้ามาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล
จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

กันยายน 5, 2024
หัวเราะจนขาดใจ? อันตรายของ “แก๊สหัวเราะ” ที่คุณควรรู้

เคยเห็นคนเป่าลมจากลูกโป่งสีสันสดใสแล้วหัวเราะคิกคักกันบ้างไหม? รู้หรือไม่ว่าลูกโป่งเหล่านั้นอาจบรรจุ "แก๊สหัวเราะ" หรือไนตรัสออกไซด์

สิงหาคม 29, 2024
5 วิธีพัฒนา Self esteem เพิ่มคุณค่าในตัวเอง

การเปรียบเทียบเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เรา บางคนอาจจะถูกผู้อื่นเปรียบเทียบ หรือเราเองไปเปรียบเทียบกับคนนั้นคนนี้ก็มี ซึ่งในทางบวกการเปรียบเทียบ

สิงหาคม 29, 2024
เบื้องหลังคนที่ชอบเรียกร้องความสนใจ ทำตัวเด่น อาจเป็น “โรคฮิสทีเรีย”

ในชีวิตคนเราทุกคนล้วนพบเจอคนหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีอารมณ์แปรปรวนง่าย หรือชอบทำตัวเป็นจุดเด่น เพื่อดึงดูดความสนใจจากคนรอบข้าง

บทความเพิ่มเติม