เมื่อความวิตกกังวล ความกลัว กลายเป็นโรคแพนิค

Share

ชีวิตที่เคยสงบสุข อาจต้องสะดุดเพราะ “โรคแพนิค” เป็นโรคที่ทำให้คุณรู้สึกกลัวและวิตกกังวลอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน ไม่กล้าออกไปไหน หมกมุ่นเรื่องสุขภาพ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคแพนิค (Panic Disorder) มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลและความเครียดที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการตื่นตระหนกอย่างฉับพลันโดยบางครั้งไม่มีสาเหตุมากระตุ้นชัดเจน อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัวและสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

อาการของโรคแพนิคมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีอาการอยู่นาน 1 – 10 นาที บางรายอาจมีอาการนาน 30 นาที – 1 ชั่วโมง หากมีอาการซ้ำภายในสัปดาห์หลายครั้ง ควรรีบมาพบจิตแพทย์ โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่

สาเหตุของโรคแพนิคอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมอง, มีคนในครอบครัวเป็นแพนิค, ประสบการณ์ที่เลวร้ายในอดีต, ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงหรือกระทบต่อจิตใจอย่างหนัก, และเจอเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง

การรักษาโรคแพนิคสามารถทำได้หลายวิธี โดยจิตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เช่น

  1. การใช้ยา: ยาที่ใช้รักษาโรคแพนิคมักจะเป็นยากลุ่มต้านอาการซึมเศร้า (Antidepressants) และยาคลายความวิตกกังวล (Anxiolytics) ยาเหล่านี้ช่วยปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับความกลัวและความวิตกกังวล
  2. การบำบัดทางจิตวิทยา: การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความกลัวและอาการที่เกิดขึ้น และเรียนรู้วิธีการจัดการกับอาการเหล่านั้น
  3. การฝึกหายใจและการผ่อนคลาย: การฝึกหายใจลึกๆ และการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อสามารถช่วยลดอาการตื่นตระหนกและทำให้รู้สึกสงบลงได้
  4. การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์: การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การนอนหลับเพียงพอ และการหลีกเลี่ยงสารกระตุ้น เช่น คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ สามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการแพนิคได้

อย่างไรก็ตาม โรคแพนิคถึงแม้จะไม่ได้อันตรายต่อชีวิต แต่อาจส่งผลกระทบชีวิตประจำวันอย่างมาก เพราะฉะนั้นหากมีอาการเข้าข่ายควรรีบมาพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม 

นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ 
จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ชายมีความเครียดจากการทำงานหนักมากเกินไป
มกราคม 16, 2025
เข้าใจความเครียด รับมือได้ ไม่กระทบสุขภาพจิต

ความเครียดเป็นเรื่องที่หลายคนต้องเผชิญ การเรียนรู้วิธีจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมจึงสำคัญ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจิตและชีวิตประจำวัน

พฤติกรรมท็อกซิกในความสัมพันธ์ ทำให้คนทะเลาะกัน
มกราคม 16, 2025
รู้จักอาการ Toxic People คืออะไร เข้าใจพฤติกรรมคนเป็นพิษ

รู้ทันอาการ Toxic คืออะไร หนึ่งในพฤติกรรมของคนใกล้ตัวที่กลายเป็นพิษ ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกอึดอัดใจ พร้อมแนะนำลักษณะ อาการ และวิธีรับมือที่เหมาะสม

สัญญาณเตือนที่ควรพบจิตแพทย์
มกราคม 16, 2025
ไม่สบายใจ เครียด อารมณ์แปรปรวน ปรึกษาจิตแพทย์ ช่วยได้

จิตใจของเรายัง “ไหว” อยู่ไหม ? หรือว่าแหลกสลายไปแล้ว… ใครที่มีอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หรือแปรปรวน เช็กด่วน คุณอาจจะต้องพบจิตแพทย์

บทความเพิ่มเติม