เครียด วิตกกังวล นานเกิน 6 เดือน เสี่ยง “โรควิตกกังวลไปทั่ว” 

Share
เครียด วิตกกังวล นานเกิน 6 เดือน เสี่ยง โรควิตกกังวลไปทั่ว

ความวิตกกังวล เป็นอาการที่เกิดได้ในคนปกติทั่วไป เมื่อมีความเครียดเข้ามากระทบ จะมีความรู้สึกสับสน เครียด กังวล วิตก ตื่นเต้น ไม่มีความสุข ควบคู่ไปกับอาการทางร่างกาย เช่น มือสั่น ตัวสั่น ปัสสาวะบ่อย ปั่นป่วนในท้อง แน่นหน้าอก ลุกลี้ลุกลน การพิจารณาว่าความตึงเครียดที่เกิดขึ้นเป็นความวิตกกังวลที่ผิดปกติหรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

โรควิตกกังวล แบ่งย่อยได้เป็นหลายโรค 1 ในนั้นคือ “โรควิตกกังวลไปทั่ว” ซึ่งพบประมาณร้อยละ 4.3-5.9 พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 2 เท่า และพบได้บ่อยในช่วงวัยกลางคน อาการเด่น ได้แก่ มีความกังวลอย่างมากในเรื่องต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การงาน การเงิน สุขภาพ ความเป็นอยู่ในครอบครัว อาจพบอาการทางร่างกายร่วมด้วย เช่น เหนื่อยง่าย ปวดตึงกล้ามเนื้อร่วมด้วย ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรควิตกกังวลจะพบโรคร่วม เช่น โรคซึมเศร้า และโรคในกลุ่มวิตกกังวลอื่น ๆ

การวินิจฉัยโรควิตกกังวลไปทั่ว แพทย์จะประเมินจากการที่ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากเกินเหตุต่อหลาย ๆ เรื่องนานอย่างน้อย 6 เดือน, ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมความกังวลนี้ได้, มีอาการทางกายต่าง ๆ(อย่างน้อย 1 อาการ) ดังต่อไปนี้  กระสับกระส่ายหรือตื่นเต้นหรือประหม่า เหนื่อยง่าย มีปัญหาด้านสมาธิความจำ หงุดหงิด ปวดตึงกล้ามเนื้อ มีปัญหาการนอน, ความกังวลดังกล่าวรบกวนชีวิตประจำวัน

สาเหตุของโรควิตกกังวลไปทั่ว แบ่งเป็นปัจจัยด้านชีวภาพ ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง และปัจจัยด้านจิตใจ เชื่อว่าผู้ป่วยมีความใส่ใจต่อข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุร้าย มองสิ่งกระตุ้นที่คลุมเครือว่าเป็นสิ่งอันตราย 

หากผู้ป่วยมีอาการของโรควิตกกังวล แนะนำให้มาพบจิตแพทย์ ซึ่งปัจจุบันสามารถรักษาได้ด้วยยา และจิตบำบัด สำหรับการรักษาด้วยยา จะเป็นกลุ่มยาต้านเศร้าเป็นหลัก และให้ยาคลายเครียดร่วมด้วยในบางช่วง หากตอบสนองดีต่อการรักษาอาจพิจารณาให้ยาต่อ 12 – 18 เดือน แล้วค่อย ๆ ลดยาลงจนหยุด นอกจากนี้จะพิจารณาว่าผู้ป่วยมีโรคร่วมอื่น ๆ หรือไม่ เช่น ภาวะซึมเศร้า และทำความเข้าใจถึงบริบทของสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเครียดและกังวล เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป ส่วนการทำจิตบำบัดนิยมใช้ความคิดพฤติกรรมบำบัด ร่วมกับการฝึกผ่อนคลาย

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม