โรคจิตเภท เป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อย ในประเทศไทยพบได้ร้อยละ 0.88 ในเพศชายและเพศหญิงเท่า ๆ กัน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น พันธุกรรม สารเคมีในสมองไม่สมดุล การทำงานของสมองลดลง หรือแม้แต่ปัจจัยทางด้านสังคมและครอบครัว โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการในช่วงวัยรุ่น ส่วนใหญ่ประมาณ 15 – 24 ปี เมื่อเป็นแล้วมักไม่หายขาด ส่วนใหญ่มีอาการกำเริบเป็นช่วง ๆ รักษาแล้วอาจมีอาการหลงเหลืออยู่บ้าง
5 กลุ่มอาการของโรคจิตเภท ได้แก่
- กลุ่มอาการด้านบวก เช่น อาการหลงผิด, อาการประสาทหลอน, ความคิดสับสน, พฤติกรรมผิดปกติ
- กลุ่มอาการด้านลบ อาจพบได้ในผู้ป่วยบางราย โดยจะมีอาการ ดังนี้ พูดน้อย ถามตอบช้า, การแสดงออกด้านอารมณ์ลดลงมาก, ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา ผู้ป่วยอาจนั่งอยู่เฉย ๆ ทั้งวันโดยไม่ทำอะไร, ไม่รู้สึกมีความสุข ทั้ง ๆ ที่มีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้น, เก็บตัว
- กลุ่มอาการด้านความรู้ความเข้าใจ ได้แก่ สมาธิแย่ลง การตีความสิ่งต่าง ๆ และการตอบสนองบกพร่องไป ความจำบกพร่อง ไม่สามารถคิดเป็นเหตุเป็นผล อาการนี้จะค่อนข้างคงที่อยู่ตลอดแม้ผู้ป่วยจะทุเลาจากอาการหูแว่วประสาทหลอน เป็นเหตุให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้ดังเดิม
- กลุ่มอาการด้านอารมณ์ เป็นอาการที่พบร่วมได้บ่อย แต่ไม่ได้ใช้ในการวินิจฉัยโรค โดยผู้ป่วยอาจมีอารมณ์ซึมเศร้า รู้สึกผิด รู้สึกกังวล หงุดหงิด ก้าวร้าว หุนหันพลันแล่น อารมณ์คึกคัก
- กลุ่มอาการอื่น ๆ เช่น ไม่ตระหนักว่าตนเองผิดปกติ ทำให้ไม่ยอมรับการรักษาแม้อาการจะกำเริบหลาย ๆ ครั้ง
หากสังเกตว่าคนใกล้ชิดมีกลุ่มอาการเหล่านี้ ควรแนะนำหรือพามาพบจิตแพทย์ เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยและรักษา ซึ่งการรักษาหลัก ๆ คือการกินยาเพื่อลดกลุ่มอาการด้านบวก ป้องกันการกำเริบ โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบบ่อย ๆ เกิดจากการขาดยา นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การรักษาด้วยไฟฟ้าร่วมกับการกินยา (Electroconvulsive therapy:ECT) โดยจะใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นสมองของผู้ป่วยทำให้เกิดอาการชัก เพื่อรักษาอาการให้ดีขึ้น, การรักษาด้านจิตสังคม เช่น จิตบำบัด การให้คำแนะนำแก่ครอบครัว กลุ่มบำบัด และนิเวศน์บำบัด
อย่างไรก็ตาม การรับผู้ป่วยมารักษาแบบผู้ป่วยในจะทำในกรณีดังต่อไปนี้ มีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตัวเองหรือผู้อื่น หรือก่อความเดือนร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น, มีปัญหาอื่น ๆ ที่ต้องดูแลใกล้ชิด หรือมีอาการข้างเคียงรุนแรงจากการกินยา, เพื่อควบคุมการกินยาในกรณีผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือกินยา
แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
Social Detox เพื่อชีวิตที่สมดุล
คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า
เช็กสัญญาณซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH