ส่อง 2 ปัจจัยสำคัญ อาจนำไปสู่โรคจิตเภท

Share
ส่อง 2 ปัจจัยสำคัญ

ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคจิตเภทร้อยละ 0.88 พบได้ทั้งเพสชายและเพศหญิงพอ ๆ กัน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจมาจาก 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่

  1. ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
    • พันธุกรรม ญาติพี่น้องของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคจิตเภทสูงกว่าประชากรทั่วไป ยิ่งมีความใกล้ชิดทางสายเลือดมากก็ยิ่งมีโอกาสมาก โดยพบว่าความเสี่ยงของประชากรทั่วไปคือร้อยละ 1, ความเสี่ยงของพี่น้องผู้ป่วยคือร้อยละ 9, ความเสี่ยงของลูกที่พ่อหรือแม่ป่วยคือร้อยละ 13, ความเสี่ยงของคู่แฝดผู้ป่วย(แฝดคนละใบ)คือร้อยละ 17, ความเสี่ยงของคู่แฝดผู้ป่วย(แฝดไข่ใบเดียวกัน)คือร้อยละ 48
    • ระบบสารเคมีในสมองไม่สมดุล
    • ปริมาณเนื้อสมองน้อยกว่าปกติ และการทำงานโดยภาพรวมของสมองลดลง ซึ่งจะสัมพันธ์กับอาการด้านลบ การตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี บกพร่องด้านการรับรู้ความเข้าใจ
  2. ปัจจัยทางด้านสังคมและครอบครัว

สภาพครอบครัวมีผลต่อการกำเริบของโรค พบว่าครอบครัวของผู้ป่วยที่อาการกำเริบบ่อย จะมีการใช้อารมณ์ต่อกันสูง เช่น การตำหนิวิพากษ์วิจารณ์ มีท่าทีไม่เป็นมิตร หรือจู้จี้ยุ่งเกี่ยวกับผู้ป่วยมากเกินไป อย่างไรก็ตาม การรักษา

โรคจิตเภทจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคจิตเภทยังควรได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม