4 วิธีรับมือจากความสูญเสีย

Share
4 วิธีรับมือจากความสูญเสีย

หากพูดถึง “การสูญเสีย”  เป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนต้องพบเจอ เช่น สูญเสียของรัก ทรัพย์สิน และบุคคลอันเป็นที่รัก แต่หลายคนยังไม่ทันได้เตรียมตัวที่จะพบการกับการสูญเสีย ก็อาจทำให้ต้องใช้เวลานานในการทำใจยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น และความเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH- Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า การสูญเสียคนรักเป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่ยากลำบากที่สุดในชีวิต ความรู้สึกเศร้า เสียใจ โหยหา และสิ้นหวังเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จนทำให้หลายคนเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม หลังจากช่วงเวลาแห่งการสูญเสีย ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องก็จะส่งผลต่อสุขภาพจิตในทางลบเป็นอย่างมาก โดยสภาพจิตใจของผู้ที่ได้รับความกระทบกระเทือนหลังการสูญเสียบุคคลที่รักมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น

อาการทางความรู้สึก

อาการทางกาย

อาการทางความคิด

อาการทางพฤติกรรม

ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ในช่วงแรกของการสูญเสีย แต่ถ้าเวลาผ่านไปแล้วอาการเหล่านี้ยังไม่ลดลงหรือเป็นมากขึ้นจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึมเศร้า ดังนั้น การเรียนรู้เพื่อรับมือที่จะก้าวข้ามผ่านความสูญเสียและยอมรับความจริงจะช่วยให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และสามารถช่วยให้ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติ

4 ขั้นตอนการรับมือเมื่อสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

ขั้นที่ 1 ยอมรับความจริงว่ามีการสูญเสียเกิดขึ้น

ต้องยอมรับความจริงว่า “เขาตายไปแล้วไม่สามารถมาเจอกันได้อีก” แต่ถ้ายังไม่ยอมรับการสูญเสียก็สามารถสังเกตอาการได้ดังนี้  เก็บข้าวของผู้ตายไว้ ทำเหมือนการสูญเสียเป็นเรื่องไม่สำคัญ หรือ พยายามติดต่อกับวิญญาณผู้ตาย 

ขั้นที่ 2 รับรู้ความเจ็บปวดจากการสูญเสีย

ความเจ็บปวดจากการสูญเสียเป็นเรื่องปกติ การพยายามเลี่ยงหรือเก็บกดความรู้สึกไว้จะยิ่งทำให้กระบวนการก้าวข้ามความสูญเสียเป็นไปได้ช้าลง ดังนั้น ต้องยอมรับความรู้สึกสูญเสียที่เกิดขึ้น ระบายความรู้สึกออกมาด้วยการพูด การเขียน หรือร้องไห้

ขั้นที่ 3 ปรับตัวอยู่กับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ไม่มีคนรัก

ขึ้นอยู่กับผู้ตายเคยมีภาระหน้าที่ใด ผู้ที่ยังอยู่ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ต่อให้ได้และปรับการดำเนินชีวิตต่อไปโดยไม่มีบุคลลอันที่เป็นทีรักแล้ว

ขั้นที่ 4 ความรู้สึกสูญเสียเบาลงและเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่

หลายคนพอสูญเสียคู่ครองจะไม่กล้าเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่ อาจคิดว่าเป็นการไม่ซื่อสัตย์กับผู้เสียชีวิต กลัวสูญเสียคนใหม่อีก กลัวมีปัญหากับลูก หรือคิดว่าไม่สามารถรักใครได้อีกแล้ว ต้องทำความเข้าใจใหม่ว่า “การรักคนใหม่ไม่ได้ทำให้ความรักที่มีต่อคนเก่าลดลงเลย”

ทั้งนี้ ควรสังเกตอาการตัวเองหลังสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักว่า ยังคงมีความรู้สึกเสียใจนานเกิน 3 – 6 เดือน หรือมีความเสียใจเรื้อรังจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ เช่น เก็บตัวไม่ออกไปพบใครนานนับเดือน  อยากตายตามคนที่เรารักไป  นอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง  ละเลยสุขอนามัยจนร่างกายอ่อนแอ  แนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการรักษาและคำแนะนำอย่างเหมาะสม

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH- Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม