5 วิธีแก้เครียด หยุดอาการคิดมาก สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Share
5 วิธีจัดการความเครียด สู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
5 วิธีจัดการความเครียด สู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ในปัจจุบันที่หลายคนต้องเผชิญกับความกดดันรอบด้าน และต้องฟันฝ่าทุกอุปสรรคปัญหาที่รุมเร้า จนต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบอยู่เสมอเพื่อให้ทัน “เส้นตาย” ในทุกหน้าที่ความรับผิดชอบ และต้องแข่งขันอยู่ตลอดเวลาเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นคนที่มีศักยภาพที่ดีกว่าเดิม โดยมีเป้าหมายว่าต้องประสบความสำเร็จ เพราะมุ่งหวังในคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงมีการเงินที่มั่นคง ซึ่งทุก ๆ การกระทำนั้นล้วนส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม คิดมาก และวิตกกังวล หากไม่สามารถจัดการกับภาวะเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ความเครียดสะสม คืออะไร ? มีอาการอย่างไร ?

ความเครียดสะสม คือภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อร่างกายเผชิญกับ “สิ่งกระตุ้น” ซึ่งอาจเป็นสิ่งท้าทาย ความกดดัน หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเป็นเวลานาน เช่น ปัญหาในการทำงาน ปัญหาการเงิน ปัญหาส่วนตัว ปัญหาความสัมพันธ์ และปัญหาสุขภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการเครียด แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

โรคที่เกิดจากความเครียดสะสม

หากร่างกายต้องเผชิญกับความเครียดสะสมเป็นเวลานาน จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้แปรปรวน โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ เพราะฉะนั้นหากรู้สึกเครียด ควรหาวิธีจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม เพื่อให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรง 

5 วิธีแก้เครียด หยุดอาการคิดมาก

  1. การสังเกตตัวเอง คือการช่วยให้รับรู้ถึงวิธีการตอบสนองต่อปัญหาของตัวเอง โดยบันทึกไดอารี่ของเหตุการณ์และการตอบสนองของตัวเอง ทั้งทางพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึก และปฏิกิริยาทางร่างกาย ซึ่งช่วยให้เห็นรูปแบบของปฏิกิริยาตอบสนองบางอย่างที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ได้ เช่น การมองโลกแง่ลบ พฤติกรรมหลีกเลี่ยงปัญหา เพื่อให้เรารู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึกตัวเอง และหาทางเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
  2. ปรับเปลี่ยนความคิด เมื่อมีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดขึ้น คนเรามักมีความคิดอัตโนมัติที่มองเหตุการณ์นั้นไปในทางลบ ความคิดลบส่งผลให้เกิดอารมณ์ลบ การฝึกตรวจสอบความคิดอัตโนมัติที่เกิดขึ้นว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ หรือเป็นความคิดที่ก่อประโยชน์แก่ตัวเองหรือไม่ เรียนรู้ที่จะแปลความหมายของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้เหมาะสมและตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น จะช่วยบรรเทาอาการเครียด และอาการคิดมากให้ลดน้อยลงได้
  3. ฝึกผ่อนคลาย เป็นหนึ่งวิธีที่ลดอาการเครียด โดยควรฝึกคลายกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย อาจร่วมกับการจินตนาการถึงภาพที่ช่วยให้ผ่อนคลาย และการฝึกหายใจ ใช้ตอนเผชิญกับเหตุการณ์ที่มีความกดดันหรือความเครียดสูง ซึ่งจะช่วยลดปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  4. จัดสรรเวลาให้เหมาะสม แบ่งเวลาชีวิตให้สมดุล ระหว่างงาน ครอบครัว การพักผ่อน งานอดิเรก เป็นต้น ให้บันทึกเวลาที่ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบัน แล้วจึงจัดสรรเวลาใหม่ เพื่อที่ตนเองจะได้ไม่ต้องจมกับความเครียดนานจนเกินไป ให้ร่างกายและจิตใจได้มีเวลาผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น
  5. การจัดการปัญหา เริ่มด้วยระบุปัญหาให้ชัดเจน คิดหาวิธีแก้ปัญหาหลาย ๆ ทางแล้วเลือกทางที่น่าจะดีที่สุดและนำไปใช้จริงได้ ลองปฏิบัติ จากนั้นประเมินผล เพื่อหาวิธีแก้เครียด ลดอาการคิดมากที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป

สำหรับคนที่ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และหาทางผ่อนคลายความเครียดแล้ว แต่ยังไม่สามารถจัดการอาการเครียดและอาการคิดมากได้ด้วยตนเอง แนะนำมาพบจิตแพทย์ ที่โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ โรงพยาบาลจิตเวชเฉพาะทางในเครือของโรงพยาบาลเวชธานี เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม เรายินดีให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง

พญ.ณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

โทรศัพท์: 02-589-1889
LINE Official Account: @bmhh
Location & Google Map: ติวานนท์ 39
Website: bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม