โรคแกล้งป่วย พฤติกรรมอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

Share
โรคแกล้งป่วย พฤติกรรมอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

โรคแกล้งป่วย (Factitious disorder)  เป็นโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะแสร้งทำว่าตัวเองหรือผู้อื่นมีความเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิตใจ ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ได้มีอาการป่วย โดยจะแสร้งทำเพื่อหวังผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งจากการอาการป่วยนี้ ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สินเงินทอง ความรัก และความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้จากงานวิจัยพบร้อยละ0.8-1 ของผู้ป่วยทางกายที่ได้รับการปรึกษาจิตแพทย์ ในช่วงอายุ 20-40 ปี มีประวัติการทำงานด้านสาธารณสุข  มีประวัติว่างงาน ไม่มีญาติใกล้ชิด และพบโรคร่วมทางจิตเวช เช่น โรคความผิดปกติทางอารมณ์ โรคบุคลิกภาพแปรปรวน หรือติดสารเสพติด

สาเหตุของโรคเกิดจาก ผู้ป่วยอาจมีประวัติถูกทารุณกรรมหรือถูกละเลยในวัยเด็ก การเจ็บป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทำให้รู้สึกว่าช่วยให้หนีจากสถานการณ์เลวร้ายในบ้านได้  รวมทั้งได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีจากบุคลากรการแพทย์ บางคนเลียนแบบการป่วยจากบุคคลสำคัญในอดีต บางคนเป็นบุคลากรการแพทย์แล้วเลียนแบบอาการของผู้ป่วยที่ตัวเองรักษาอยู่

โรคแกล้งป่วยแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ แบบที่ทำตัวเอง และ แบบที่ทำผู้อื่น

แบบที่ทำตัวเอง

แบบที่ทำผู้อื่น

ลักษณะอาการแบ่งเป็น 4 กลุ่ม

  1. แกล้งเจ็บป่วยทางร่างกาย คือ ผู้ป่วยแสร้งแสดงอาการและแจ้งประวัติเท็จ เมื่อพบแพทย์จะแสดงอาการว่าป่วยและจำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล หรือทำตัวเองให้มีอาการ เช่น อมน้ำร้อนแล้วมาวัดไข้เพื่อให้มีไข้ บางคนอาจเคยป่วยเป็นโรคนั้นจริงแล้วใช้โรคเดิมมาเป็นอาการนำ แสร้งทำเป็นมีอาการอื่น ๆ ตามมา
    เมื่อรับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยมักเรียกร้องความสนใจ ขอยาบ่อย ๆ ขอให้มีการตรวจรักษาอย่างจริงจัง เช่น การผ่าตัด หากแพทย์ตรวจไม่พบอะไรจะไม่พอใจ เมื่อแพทย์มีท่าทีสงสัยว่าแสร้งทำ ผู้ป่วยจะไม่สมัครใจรักษาต่อและย้ายไปรักษาที่อื่นต่อไป
  2. แกล้งเจ็บป่วยเป็นโรคทางจิตเวช คือ ผู้ป่วยแสร้งแสดงอาการและแจ้งประวัติเท็จในด้านโรคทางจิตเวช เช่น หูแว่ว ซึมเศร้า สับสน หรือมีพฤติกรรมแปลก ๆ รักษาเต็มที่แล้วยังมีอาการอยู่ เช่น มาด้วยซึมเศร้าแล้วเล่าว่าญาติสนิทเสียชีวิต โดยให้รายละเอียดมีสีสันเหมือนในนิยาย ซึ่งฟังแล้วไม่น่าเป็นไปได้หรือขัดแย้งกันเอง เพื่อให้ได้รับความเห็นใจจากแพทย์
  3. ผู้ป่วยแสร้งแสดงอาการและแจ้งประวัติเท็จทั้งโรคทางกายและโรคทางจิต
  4. แกล้งทำความเจ็บป่วยให้แก่คนอื่น ซึ่งมักเป็นเด็กเล็ก อาจจะเป็นลูกหรือคนที่ผู้ป่วยดูแลอยู่ เพื่อให้ตัวเองได้รับการดูแลทางจิตใจด้วย เช่น แม่ปลอมปนเลือดในปัสสาวะให้ลูกเพื่อให้ลูกเข้าสู่การรักษา

สำหรับการรักษา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับว่าตัวเองแกล้งป่วย จึงยากที่จะรักษาให้หายขาด เป้าหมายในการรักษาจึงเป็นการเลี่ยงที่จะให้ผู้ป่วยทำตัวเองให้เจ็บป่วยเพิ่มขึ้น ให้การรักษาทางจิตใจ การได้ประวัติและความร่วมมือจากญาติจะช่วยการวินิจฉัยและการรักษาได้

พญ.ณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม