การบำบัดชีวิตคู่ กุญแจสู่ความรักที่ยั่งยืน

Share

การมีคนรักที่ได้ใช้ชีวิตคู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า คงเป็นความฝันที่ใครหลายคนปรารถนา ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงการรักษาความสัมพันธ์ให้ยืนยาวนั้นไม่ง่าย เพราะชีวิตคู่ จะต้องเผชิญกับปัญหาและความท้าทาย ที่อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ ทำให้เกิดความขัดแย้ง ความเข้าใจผิด ความรู้สึกห่างเหิน หรืออาจจะหย่าร้างกัน ดังนั้นการบำบัดชีวิตคู่ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้คู่รักสามารถเผชิญและแก้ไขปัญหา  เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมามีความสุขได้อีกครั้ง 

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์โรงพยาบาลBMHH- Bangkok Mental Health Hospital  กล่าวว่า ในบางครั้งการคุยกันระหว่างคู่รัก อาจมีเรื่องความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความอ่อนไหวในระหว่างการพูดคุยหรือปรับความเข้าใจกัน รวมถึงแต่ละฝ่ายมักจะมองปัญหาในมุมมองของตัวเอง จึงอาจมองไม่เห็นปัญหาและความรู้สึกหรือความคิดของอีกฝ่าย ดังนั้นการเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อเข้ารับการบำบัดชีวิตคู่ถือเป็นตัวช่วยหนึ่งในการปรับความเข้าใจกัน เพราะ จิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดที่เป็นคนกลางจะเข้ามาช่วยในการมองเห็นปัญหาของความสัมพันธ์จากภายนอก โดยไม่มีความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง

 การบำบัดชีวิตคู่เป็นกระบวนการที่ช่วยให้คู่รักเข้าใจปัญหาในความสัมพันธ์  โดยจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดจะช่วยให้คู่รักสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ เรียนรู้วิธีจัดการความขัดแย้ง และพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ที่จำเป็นสำหรับความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน โดยคู่รักทุกคู่สามารถเข้ารับการบำบัดได้  แม้จะยังไม่มีปัญหา เพราะการบำบัดชีวิตคู่เปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน  ช่วยให้คู่รักสามารถระบุปัญหาและแก้ไขได้ทันท่วงที  ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามบานปลายโดยไม่สามารถแก้ไขทัน 

สัญญาณเตือนคู่รักควรเข้ารับการบำบัดชีวิตคู่

การบำบัดชีวิตคู่โดยทั่วไปจะดำเนินการเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม โดยจะใช้เวลาประมาณ 60-90 นาทีขึ้นอยู่กับปัญหาและความซับซ้อนของความสัมพันธ์ ในระหว่างการบำบัด จิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดจะใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การพูดคุย การฟัง การฝึกฝน และกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยให้คู่รักบรรลุเป้าหมาย 

อย่างไรก็ตาม อย่ารอให้ความสัมพันธ์ถึงขั้นวิกฤติแล้วจึงมาพบนักจิตแพทย์แต่ควรมาพบตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะการมาพบนักจิตแพทย์ที่มีประสบการณ์การบำบัดชีวิตคู่ จะช่วยให้เราตระหนักรู้ในสัมพันธภาพชีวิตคู่ที่เป็นปัญหาและอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ในอนาคตได้ และเป็นการแสดงจุดยืนว่าเราทั้งคู่ยังมีความแน่วแน่ตั้งใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันโดยมีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงพัฒนาความสัมพันธ์ของการใช้ชีวิตคู่อย่างจริงจังให้เกิดความเข้าใจและให้เกิดความสุขในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันต่อไป

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล 
จิตแพทย์โรงพยาบาลBMHH- Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

กันยายน 27, 2024
ไขปริศนา สาเหตุที่ทำคนติดยาเสพติด

การใช้ยาเสพติดเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งตัวบุคคล ครอบครัว และสังคม ทุกภาคส่วนจึงช่วยรณรงค์ให้ห่างไกลจากยาเสพติด

กันยายน 26, 2024
6 โรคทางจิตเวช ที่พบร่วมกับโรคซึมเศร้าได้

หลายครั้งที่เราพบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีอาการของโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย เราเรียกภาวะนี้ว่า “โรคทางจิตเวชร่วม (comorbidity)”

กันยายน 25, 2024
ขี้อาย ติดอยู่ในโลกส่วนตัว อาจเป็นสัญญาณของโรคกลัวการเข้าสังคม

ปัจจุบันโซเชียลมีเดียทำให้การสื่อสาร การเข้าสังคมเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น แต่บางคนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆได้เหมือนคนอื่นโดยอาจจะรู้สึกกังวล

บทความเพิ่มเติม