ภาวะสมองเสื่อม คือ ภาวะที่สมองทำงานผิดปกติส่งผลให้มีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม บุคคลิกภาพเปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
ภาวะสมองเสื่อมเกิดได้หลายสาเหตุ
- โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการที่มีโปรตีนบางชนิด ไปเกาะตัวอยู่ในสมองอย่างผิดปกติ
- โรคหลอดเลือดทางสมอง เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสอง เกิดจากการตีบของหลอดเลือด ทำให้สมองบางส่วนได้รับเลือดและออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้การทำงานของสมองไม่ดีเท่าที่ควร
- โรคทางสมองอื่น ๆ เช่น Dementia with Lewy Bodies, Frontotemporal dementia, Parkinson’s disease, Huntington’s disease, การติดเชื้อในสมอง
- ภาวะขาดสารอาหาร เช่น ขาดวิตามินบี 12
นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดภาวะสมองเสื่อมโดยตรง แต่ทำให้เกิดอาการหลงลืมคล้ายภาวะสมองเสื่อม (Pseudodementia) เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล เป็นต้น ซึ่งภาวะเหล่านี้เมื่อได้รับการรักษาก็จะทำให้ความจำกลับมาดีขึ้นได้
การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม
ทำได้โดยการซักประวัติจากผู้ป่วย และญาติ รวมไปถึงการตรวจร่างกาย ทำแบบทดสอบการทำงานของสมอง (Cognitive assessment) ตรวจเลือด สแกนสมอง เพื่อประเมินสาเหตุ และระยะของโรค
การรักษาภาวะสมองเสื่อม
- หากตรวจพบว่าภาวะสมองเสื่อมเกิดจากสาเหตุที่แก้ไขได้ เช่น ภาวะขาดสารอาหาร การรักษาที่ต้นเหตุจะช่วยให้การทำงานของสมองกลับมาดีขึ้นได้
- ภาวะสมองเสื่อม ที่เกิดจากสาเหตุที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
ในปัจจุบัน เช่น โรคอัลไซเมอร์ การรักษาก็จะเป็นการพยายามชะลอ ลดอัตราความเสื่อมของสมองให้ช้าลง โดยการใช้ยา การลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงการทำกิจกรรมกระตุ้นการทำงานสมอง
การป้องกันภาวะสมองเสื่อม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่พอเหมาะ
- ดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้มาก หรือ น้อยเกินไป
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์
- งดการสูบบุหรี่
- ดูแลและควบคุมโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง
- ดูแลสุขภาพจิตให้ดี
- พยายามหากิจกรรมทำ เช่น เข้าสังคม หรือ งานอดิเรก ไม่อยู่เฉย ๆ
ทั้งนี้ ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยรวมถึงบุคคลรอบข้างเนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสจะมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และจำเป็นต้องพึ่งพาบุคคลรอบข้างมากขึ้น ดังนั้น การเฝ้าระวังสัญญาณของภาวะสมองเสื่อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เพราะ ยิ่งตรวจพบและรักษาเร็ว ก็จะยิ่งมีโอกาสชะลอความเสื่อมของสมองได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH