![ทำความรู้จัก โรคกลัว ให้มากขึ้น](https://bangkokmentalhealthhospital.com/wp-content/uploads/2023/09/phobias-1.jpg)
โรคกลัว หรือ Phobia เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือสถานการณ์ที่ไม่ได้อันตราย และจะกลัวแค่ตอนที่มีสิ่งเร้าเข้ามาร่วมด้วย เช่น กลัวเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่า กลัวความสูง กลัวสัตว์ร้าย กลัวการตัดสินใจ เป็นต้น บางทีแค่การพูดถึงก็ทำให้มีอาการกลัวได้
ผลกระทบจากโรคกลัว
คนที่เป็นโรคกลัวส่วนใหญ่จะมีความบกพร่องทางจิตสังคมคล้ายกัน คือ การหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้น ๆ จนเข้าสังคมน้อยลง ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง คุณภาพชีวิตลดลง อาจนำไปสู่การใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติด, กรณีผู้สูงอายุที่กลัวการหกล้มทำให้ไม่กล้าเดินหรือเคลื่อนไหว จนทำให้ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลงและต้องได้รับการดูแลมากขึ้น, ส่วนคนที่กลัวเลือดหรือเข็มอาจมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการไปพบแพทย์แม้จะมีอาการเจ็บป่วยที่ชัดเจน และคนที่กลัวการอาเจียนกลัวการสำลักก็จะกินได้น้อยลง เป็นต้น
โรคร่วมที่พบบ่อยในโรคกลัว
- ภาวะซึมเศร้า
- โรควิตกกังวล
- โรคอารมณ์สองขั้ว
- การใช้สารเสพติดเพื่อลดความเครียดความกังวล หรือมีบุคลิกภาพเป็นคนที่ต้องพึ่งพาบุคคลอื่น
การรักษาโรคกลัว
- การรักษาหลัก คือ การค่อย ๆ เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว (exposure therapy) ซึ่งจะช่วยลดอาการกลัวและเพิ่มความสามารถในการเข้าสังคมได้มากขึ้น โดยผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอและระยะเวลาในการเผชิญหน้ากับสิ่งนั้น ๆ โดยปกติการรักษาประเภทนี้เป็นเรื่องยากสำหรับผู้ป่วยเอง ทำให้ต้องได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งการแพทย์ เพื่อช่วยให้การรักษาราบรื่นมากขึ้น
- การรักษาโดยใช้ยา ปัจจุยันยังไม่มียาที่ช่วยรักษาโรคกลัวได้โดยตรง แต่จะเป็นการลดอาการข้างเคียง เช่น ความวิตกกังวล อารมณ์เศร้าเบื่อ อารมณ์หงุดหงิด เป็นต้น
ทั้งนี้ โรคกลัว เป็นภาวะสุขภาพจิตที่เกิดความกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งของหรือสถานการณ์เฉพาะ โดยความกลัวกังวลมักไม่สมเหตุสมผลกับสถานการณ์ที่เจอ ซึ่งแตกต่างจากความกลัวโดยทั่วไป และส่งผลกระทบต่อการทำงาน ชีวิต และความสัมพันธ์ หรือหากมีอาการที่รุนแรงเกินกว่าจะรับไหวแนะนำให้มาปรึกษาแพทย์ เพราะยิ่งเข้ารับการรักษาเร็วก็สามารถลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล การใช้สารเสพติด
บทความที่เกี่ยวข้อง
![](https://bangkokmentalhealthhospital.com/wp-content/uploads/2025/01/7-Ways-to-Spot-Hidden-Depression2.jpg)
7 วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าซ่อนเร้น
อาการซึมเศร้าอาจแฝงตัวอยู่ในพฤติกรรมที่ดูปกติ แต่กลับส่งผลกระทบลึกซึ้งโดยไม่ทันรู้ตัว การเรียนรู้ที่จะสังเกตและเข้าใจสัญญาณ
![](https://bangkokmentalhealthhospital.com/wp-content/uploads/2025/01/Unlock-Your-Potential-Confronting-Impostor-Syndrome2.jpg)
ปลดล็อกศักยภาพ พร้อมเผชิญหน้ากับ Impostor Syndrome
ใครเคยเป็นบ้าง รู้สึกไม่มั่นใจในศักยภาพของตัวเอง ต่อให้คนอื่น ๆ จะชื่นชมเราแค่ไหน ก็มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า “เราดีจริงๆ
![](https://bangkokmentalhealthhospital.com/wp-content/uploads/2025/01/Teachers-Mental-Health2.jpg)
“สุขภาพจิตของครู”
วันที่ 16 มกราคมของทุกปี เป็นวันครูแห่งชาติ วันที่ทุกคนหันมาระลึกถึงความสำคัญของครูผู้เป็นเสาหลักในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH