การดื่มแอลกอฮอล์หรือสุรา ได้สร้างปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะปัญหาความรุนแรง เนื่องจากฤทธิ์ของสุราจะไปควบคุมสมองส่วนความคิด การตัดสินใจและการใช้เหตุผล ทำให้ผู้ที่ดื่มนั้นขาดสติ ขาดการยับยั้งชั่งใจ เกิดความรู้สึกคึกคะนอง จนเกิดผลกระทบตามมาหลายด้าน ทั้งการเข้าสังคม การทำงาน ความสัมพันธ์ และสุขภาพจิต ทั้งนี้การเสพติดแอลกอฮอล์สามารถรักษาได้ ดังนี้
- เพิ่มการตระหนักรู้ถึงปัญหาการใช้แอลกอฮอล์ หรือคนรอบข้างสังเกตและตักเตือนถึงปัญหาได้เร็ว เป็นสิ่งสำคัญ เพราะยิ่งรู้ช้าจะยิ่งทำให้การรักษาทำได้ยาก
- พูดคุยเพื่อสร้างแรงจูงใจในการหยุดใช้แอลกอฮอล์
- ให้กำลังใจ และให้คำแนะนำในการหยุดดื่มแอลกอฮอล์
- ควบคุมการดื่ม โดยถ้าก่อนหน้านี้เคยดื่มหนักให้ค่อยๆลดปริมาณทุก 3-4 วัน ไม่หยุดดื่มทันที เพราะอาจเกิดอาการถอนแอลกอฮอล์ได้
- การจัดการปัญหาที่เป็นเหตุในการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม ตัวผู้ป่วยเอง หรือการรักษาทางจิตเวช เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล
- การเข้ากลุ่มเลิกแอลกอฮอล์ หรือกลุ่ม alcohol anonymous การมีคนที่ประสบปัญหาใกล้เคียงกัน ได้พูดคุยกับคนที่หยุดดื่มแอลกอฮอล์ได้ หรือแม้กระทั่งให้คำแนะนำผู้อื่นในการหยุดดื่ม จะสร้างความภูมิใจในตนเองและอยากเป็นแบบอย่างที่ดี
- การใช้ยาเพื่อหยุดดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
ธันวาคม 6, 2024
โรคแกล้งป่วย เมื่อความเจ็บป่วยกลายเป็นการแสดง
การเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบางกรณี ความเจ็บป่วยกลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่าง
พฤศจิกายน 29, 2024
5 อาการ โรคหลายบุคลิก
บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะคนเรามักมีการปรับตัวเข้ากับสังคม
พฤศจิกายน 29, 2024
โรคชอบขโมย ไม่ใช่แค่ “ขโมย” แต่เป็น “โรค”
การลักเล็กขโมยน้อย เป็นพฤติกรรมที่ใครเจอก็ต้องส่ายหัว เพราะต้องคอยระแวงข้าวของของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางจิตเวชมีอยู่ 1
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH