นิสัยชอบกังวล ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ สัญญาณของโรคย้ำคิด ย้ำทำ

Share
นิสัยชอบกังวล ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ

หากมีความคิดซ้ำ ๆ หมกมุ่น ไม่สามารถหยุดคิดได้ หรือ มีพฤติกรรมทำซ้ำ ๆ อาจจะเข้าข่ายโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวช ที่สามารถพบได้ในทั้งผู้ใหญ่ และเด็ก โดยพบได้ประมาณ 1.2% ของประชากร

โรคย้ำคิดย้ำทำมีองค์ประกอบ 2 อย่าง

  1. อาการย้ำคิด (Obsession) คือ มีความคิดหมกมุ่นที่ควบคุมไม่ได้ เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ไม่สามารถหยุดคิดได้ ถึงแม้ว่าตัวเองจะรู้ว่าความคิดนั้นจะไม่สมเหตุสมผล ก่อให้เกิดความวิตกกังวลเกินจริง เช่น กลัวเชื้อโรค,  หมกหมุ่นกับความเป็นระเบียบ หรือ ความสมมาตร, กลัวสิ่งไม่ดีจะเกิดขึ้นกับตัวเอง เป็นต้น
  2. อาการย้ำทำ (Compulsion) คือ การทำพฤติกรรมต่าง ๆ หรือ การคิดในทางตรงข้าม เพื่อพยายามลดความวิตกกังวลจากการย้ำคิด เช่น ล้างมือซ้ำ ๆ, ตรวจสอบประตูซ้ำ ๆ, ตรวจสอบปลั๊กไฟ หรือ เตาอบซ้ำ ๆ อาการย้ำคิด-ย้ำทำ อาจพบร่วมกับความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอื่น ๆ เช่น ขยิบตาบ่อย ๆ ยักไหล่ กระตุกศีรษะหรือไหล่ หรือส่งเสียงผิดปกติ เช่น กระแอม คำราม หรือ พูดคำหยาบโดยควบคุมไม่ได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคย้ำคิดย้ำทำ

ถึงแม้ว่าโรคย้ำคิดย้ำทำ จะไม่ได้มีอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก หากมีอาการลักษณะนี้ แนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โดยการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดคือ การใช้ยาร่วมกับ การทำจิตบำบัด ซึ่งมักจำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างน้อยประมาณ 8 – 12 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นผล

นพ. ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธันวาคม 6, 2024
โรคแกล้งป่วย เมื่อความเจ็บป่วยกลายเป็นการแสดง

การเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบางกรณี ความเจ็บป่วยกลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่าง

พฤศจิกายน 29, 2024
5 อาการ โรคหลายบุคลิก

บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานการณ์ต่าง ๆ  ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะคนเรามักมีการปรับตัวเข้ากับสังคม

พฤศจิกายน 29, 2024
โรคชอบขโมย ไม่ใช่แค่ “ขโมย” แต่เป็น “โรค” 

การลักเล็กขโมยน้อย เป็นพฤติกรรมที่ใครเจอก็ต้องส่ายหัว เพราะต้องคอยระแวงข้าวของของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางจิตเวชมีอยู่ 1

บทความเพิ่มเติม