การจัดงาน ArtStory Event and “Alex & The Gang” Show Case ที่ชั้น 4 สยามพารากอน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2567 ถือเป็นการจุดประกายความคิด และมุมมองใหม่ๆ ของสังคมไทยที่มีกับเด็กพิเศษ (ออทิสติก) โดยเฉพาะกับผลงานโชว์เคสของ “Alex & The Gang” “น้องอเล็ก-ชนกรณ์ พุกะทรัพย์” ศิลปินเด็กพิเศษที่ค้นพบตัวเองจากโลกจินตนาการสู่การเป็นนักเขียนผ่านตัวอักษรบนโลกออนไลน์ และงานดิจิทัลอาร์ท ต่อยอดเชื่อมโลกแห่งความเป็นจริงกับการออกแบบลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ชวนเพื่อนๆ เด็กพิเศษที่มีความสามารถหลากหลายอีก 7 คน มาร่วมจัดแสดงผลงานที่แปลงร่างจากลายเส้นและงานศิลปะสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริง สร้างความยั่งยืนให้เด็กพิเศษสามารถมีรายได้ มีอาชีพผ่านการทำงานศิลปะ สะท้อนให้สังคมเห็นคุณค่าของเด็กพิเศษ เปิดพื้นที่แห่งโอกาสอย่างเท่าเทียม เพื่อช่วยให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ
ทำความเข้าใจกับออทิสติก
โรคออทิสติกคืออะไร ควรต้องดูแลกันอย่างไร นี่ย่อมจะเป็นคำถามที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ศ.นพ.รณชัย คงสกนต์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล Bangkok Mental Health Hospital หรือ BMHH ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคออทิสติก (Autism Spectrum Disorder: ASD) ว่า “โรคนี้เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสมองที่ล่าช้า 3 ด้านคือ ด้านการเข้าสังคม การพูดหรือด้านภาษา และพฤติกรรมมีการสนใจซ้ำ ทั้งนี้ จากตัวเลขกรมสุขภาพจิตกบว่า ประเทศไทยพบอัตราป่วยโรคออทิสติกได้ 6 คน/ประชากรทุก ๆ 1,000 คน คาดว่าทั่วประเทศจะมีเด็กป่วยเป็นโรคนี้มากกว่า 3 แสนคน
บทบาทของสังคมที่สำคัญที่สุดกับเด็กพิเศษเหล่านี้คือ ผู้ปกครอง คุณครูหรือผู้ดูแลต้องเปิดรับ เปิดใจ และยอมรับในตัวเขา ลองสังเกตสิ่งที่เขาชอบทำ สิ่งที่เขาถนัดจริง ๆ แล้วค่อยมองหาวิธีพัฒนาทักษะของเขาเพื่อต่อยอดมันต่อ เช่น เรื่องความชอบด้านศิลปะ จุดเด่นของศิลปะแต่ละด้านจะช่วยเสริมพัฒนาการของกลุ่มเด็กพิเศษแตกต่างกันไป และช่วยทำให้สมองเรียนรู้การเชื่อมโยงเรื่องราว พร้อมส่งเสริมสมาธิให้ดีขึ้น ดังเช่น BMHH ได้เข้าสนับสนุนกิจกรรม “Alex & The Gang” Show Case โดย ArtStory By Autistic Thai ซึ่งได้แสดงผลงานศิลปะสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริง สร้างความยั่งยืนให้เด็กพิเศษสามารถมีรายได้ มีอาชีพผ่านการทำงานศิลปะ สะท้อนให้สังคมเห็นคุณค่าของเด็กพิเศษ ที่สิ่งสำคัญ คือ การสร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวเด็กเอง
วิธีการรักษาโรคออทิสติกให้มีประสิทธิภาพ คือ การรักษาแบบองค์รวมผสมผสานร่วมกันกับการบำบัดตามอาการเด่น และยังพิจารณาถึงประเภทของออทิสติกและระดับความรุนแรงในการต้องการความช่วยเหลือสนับสนุน โดยแพทย์จะให้แนวทางการบำบัดโรคออทิสติกทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนกับผู้ปกครอง โดยเน้นการกระตุ้นพัฒนาการ การเพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและการปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ร่วมกันกับการบำบัดรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการ การเรียนรู้และการสื่อสาร รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้และลดการพึ่งพา”
ขณะที่ นพ.ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ หรือ “หมอตัง” จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital ได้กล่าวถึง
แนวทางการเลี้ยงลูกวัยรุ่นในยุคนี้ที่มิใช่เฉพาะเด็กพิเศษว่า “พ่อแม่ควรจะต้องใช้หลักของ LOVE นั่นคือ L Llisten การเปิดใจรับฟัง และทำให้ลูกรู้สึกว่า ตนเองสามารถเข้าถึงพ่อแม่ได้, O Observe การสังเกตว่าเด็กทำอะไร เกินขอบเขตหรือไม่, V Validate การยืนยันความรู้สึก ที่สำคัญ พ่อแม่ต้องตั้งใจรับฟังทั้งคำพูด และการแสดงออกทางภาษากาย อย่าด่วนตัดสินลูกไปก่อน และ E Encourage การให้กำลังใจ
กล่าวโดยรวม คือ พ่อแม่ต้องสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับลูก ทำให้ลูกรู้สึกว่าสามารถเข้าหา พูดคุยกับพ่อแม่ได้ โดยที่พ่อแม่ไม่ด่วนตัดสินไปก่อน เช่น เมื่อลูกเล่าปัญหาให้ฟังแล้วพ่อแม่ย้อนถามว่า ลูกคิดมากไปเองหรือเปล่า ฯลฯ นอกจากนี้ พ่อแม่จำเป็นที่จะต้องกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน ทั้งขอบเขตของตัวเอง และลูกว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ โดยที่ตัวเองก็ต้องเคารพ และทำตามขอบเขตนั้นด้วย และเมื่อเวลาลูกออกไปเผชิญกับเรื่องราวต่าง ๆ ภายนอก ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย เขาควรจะสามารถรับรู้ได้ว่า “บ้าน” เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้สามารถกลับมาหาได้เสมอ เป็นพื้นที่ที่สามารถพูดคุย ระบายถึงความไม่สบายใจ ความยากลำบากต่าง ๆ ได้ การตระหนักได้ถึงสิ่งนี้ จะเป็นเหมือนเสื้อเกราะให้ลูกรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ นพ.ณชารินทร์ ยังกล่าวถึงการใช้ศิลปะเพื่อสร้างความสุข พัฒนาอารมณ์ และจิตใจว่า “การทำงานศิลปะนั้นเป็นเสมือนการระบายอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งบางครั้งอาจจะยากที่จะกล่าวออกมาเป็นคำพูด ที่สำคัญ ระหว่างการทำงานศิลปะ เราก็จะได้อยู่กับตัวเอง มีการคิด ไตร่ตรอง ถึงอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะทางตรง หรือ ทางอ้อม ดังนั้น นอกจากศิลปะจะเป็นช่องทางการระบายอารมณ์แล้ว ก็ยังสามารถเป็นการฝึกฝนสมาธิ การตระหนักรู้เท่าทันตัวเองได้อีกด้วย
ขอขอบคุณที่มาจาก BIZ BUZZ NEWS ONLINE
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรงพยาบาล BMHH เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการ
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 โรงพยาบา Bangkok Mental Health Hospital เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการ โดยมี ศ.รณชัย คงสกนธ์
นอนไม่หลับ นับแกะช่วยได้จริงหรือ?
อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เป็นปัญหาในการนอนหลับที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในวัยทำงานขึ้นไป โดยอาจมีอาการหลับยาก ตื่นกลางดึกบ่อย
เมื่อคนใกล้ตัวเป็นซึมเศร้า ความเข้าใจคือยาที่ดีที่สุด
การมีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องการความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การรับมืออย่างเหมาะสม นอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วย
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH