5 วิธีกำจัด”ภาวะหมดไฟ”

Share
ภาวะหมดไฟ

ภาวะหมดไฟ Burnout syndromes เป็นภาวะเหนื่อยล้าทางอารมณ์ ร่างกายและจิตใจ เป็นผลจากความเครียดที่สะสมจากการทำงานมากเกินไป ส่งผลให้ไม่อยากไปทำงาน มีอารมณ์ร่วมกับงานน้อยลง มองความสัมพันธ์ที่ทำงานในทางลบ มุมมองต่อคนอื่นแย่ลง จนทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานที่ไม่ดี หากสังเกตอาการตัวเองเข้าข่ายภาวะหมดไฟ ควรหาวิธีจัดการความรู้สึกเหล่านี้ให้สามารถกลับมาทำงานได้อย่างมีความสุข 

5 วิธีกำจัดภาวะหมดไฟ 

1. เข้าสังคม 

การมีสังคมถือเป็นยารักษาความเครียดโดยธรรมชาติ ซึ่งการคุยกับใครสักคน เช่น แฟน ครอบครัว เพื่อน ที่เป็นผู้ฟังที่ดีฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสิน เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการคลายเครียด ถึงแม้ผู้ฟังจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ได้แต่ก็ได้ใช้เวลาอยู่กับคนที่ตัวเองรัก, การใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานให้มากขึ้น ซึ่งการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานจะทำให้งานเบาลง และหากิจกรรมทำในที่ทำงาน, เลี่ยงการติดต่อกับคนคิดลบ การอยู่กับคนคิดลบจะดึงให้อารมณ์และมุมมองของตัวเราคิดลบไปด้วย แต่ถ้าจำเป็นต้องพบเจอหรือทำงานร่วมกันก็ให้ใช้เวลาน้อยที่สุด, ร่วมกลุ่มกิจกรรมทางสังคมที่ชอบ เช่น กลุ่มปฏิบัติธรรม กลุ่มท่องเที่ยว พูดคุยกับคนที่ชื่นชอบสิ่งเดียวกัน จะทำให้มีเพื่อนใหม่และอาจได้วิธีแก้ปัญหาจากคนที่ประสบปัญหาเดียวกัน, การให้ความช่วยเหลือคนอื่น จะทำให้ตัวเรามีความสุข แต่อย่าให้มากจนตัวเองลำบากหรือเสียเวลามากเกินไป 

2. เปลี่ยนมุมมองต่องาน

ถ้าเป็นงานที่รีบตลอดเวลา หรือทำงานแล้วไม่มีความสุข วิธีที่ดีที่สุดคือหางานใหม่ แต่ในความเป็นจริงการหางานไม่ได้ทำได้ง่าย เพราะฉะนั้นลองหาคุณค่าในงาน ให้ความสนใจในเรื่องเล็กน้อย เช่น พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานตอนพักเที่ยงและลองเปลี่ยนทัศนคติต่องาน แต่ถ้ารู้สึกว่างานที่ทำอยู่หนักเกินไป ให้ลางานไปพักผ่อน หรือ ลางานแบบไม่รับเงินเดือนเพื่อใช้เวลาพักและเติมพลังให้กับตัวเอง 

3. จัดลำดับความสำคัญ

ลองหาเวลาคิดเกี่ยวกับความหวัง ความฝัน เป้าหมายในชีวิต โดยครั้งนี้อาจเป็นโอกาสในตามหาความสุข ลองทำอะไรช้าลงให้เวลาตัวเองได้พัก ทบทวน เยียวยาจิตใจ,  ลองฝึกปฏิเสธ, กำหนดเวลาในแต่ละวันที่จะตัดขาดจากเทคโนโลยี ปิดคอม โทรศัพท์, หาเวลาทำกิจกรรมผ่อนคลายต่าง ๆ เช่น โยคะ ทำสมาธิ ฝึกหายใจ  และนอนหลับพักผ่อน 

4. ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นยาต้านความเครียด ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น โดยต้องตั้งเป้าว่าจะออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ในช่วงเครียดแทนที่จะโฟกัสความคิด ให้หันมาโฟกัสร่างกาย ดูการเคลื่อนไหวขณะออกกำลังกาย

5. กินอาหารสุขภาพ

ควบคุมปริมาณการกินอาหาร เช่น กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่เหมาะสม ลดคาเฟอีนลดอาหารที่มีไขมัน ลดอาหารแปรรูปและอย่ากินของหวานมากเกินไป รวมไปถึงการเลิกบุหรี่ ถึงแม้บุหรี่เหมือนจะช่วยลดความเครียด แต่ที่จริงบุหรี่มีสารกระตุ้นที่ทำให้กังวลมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากลองวิธีเหล่านี้แล้วอาการภาวะหมดไฟไม่ดีขึ้นหรือมีอาการเบื่องานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในประจำวัน แนะนำให้พบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาและหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

กันยายน 5, 2024
หัวเราะจนขาดใจ? อันตรายของ “แก๊สหัวเราะ” ที่คุณควรรู้

เคยเห็นคนเป่าลมจากลูกโป่งสีสันสดใสแล้วหัวเราะคิกคักกันบ้างไหม? รู้หรือไม่ว่าลูกโป่งเหล่านั้นอาจบรรจุ "แก๊สหัวเราะ" หรือไนตรัสออกไซด์

สิงหาคม 29, 2024
5 วิธีพัฒนา Self esteem เพิ่มคุณค่าในตัวเอง

การเปรียบเทียบเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เรา บางคนอาจจะถูกผู้อื่นเปรียบเทียบ หรือเราเองไปเปรียบเทียบกับคนนั้นคนนี้ก็มี ซึ่งในทางบวกการเปรียบเทียบ

สิงหาคม 29, 2024
เบื้องหลังคนที่ชอบเรียกร้องความสนใจ ทำตัวเด่น อาจเป็น “โรคฮิสทีเรีย”

ในชีวิตคนเราทุกคนล้วนพบเจอคนหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีอารมณ์แปรปรวนง่าย หรือชอบทำตัวเป็นจุดเด่น เพื่อดึงดูดความสนใจจากคนรอบข้าง

บทความเพิ่มเติม