หากมีปัญหาการนอนหลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นง่าย และใช้ยานอนหลับมานานกว่า 4 สัปดาห์ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น การทำงาน การเรียน และสุขภาพ อาจจะเข้าข่ายโรคนอนไม่หลับ แนะนำให้มาพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา
เช็ก 3 อาการที่ควรปรึกษาแพทย์
- มีปัญหาในการนอนหลับหรือหลับไม่สนิทเป็นเวลานานกว่า 1 เดือน
- ใช้ยานอนหลับนานกว่า 2 ถึง 4 สัปดาห์
- การนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย การทำงาน หรือการใช้ชีวิต
แนวทางการดูแลตนเองเบื้องต้น เมื่อมีอาการนอนไม่หลับให้ปฏิบัติดังนี้
- เข้านอนเมื่อรู้สึกง่วง
- หากนอนไม่หลับภายใน 15 ถึง 20 นาที อาจลุกจากเตียงเพื่อไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ช่วยให้ผ่อนคลาย แล้วจึงกลับมานอนอีกครั้ง
- ใช้เตียงห้องนอนเพื่อการนอนเท่านั้น ไม่อ่านหนังสือ รับประทานอาหาร ดูทีวี หรือทำงานในห้องนอน
- เข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมทุกเช้า
- หลีกเลี่ยงการงีบหลับระหว่างวัน
- จัดสภาพแวดล้องในห้องนอนให้เหมาะสม เช่น มืดสนิท ไม่มีเสียงรบกวน หรืออาจมีดนตรีเบาๆ หรือเสียงที่ทำให้นอนหลับ เช่น White noise มีเตียงและหมอนที่นอนแล้วสบาย อุณหภูมิเหมาะสม ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
- ทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายในช่วงเย็นและก่อนเข้านอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังธรรมะ ฟังเพลง นั่งสมาธิ
- หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ตต่างๆอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้หลับไม่สนิท
- ออกกำลังกายทุกวัน แต่เว้นช่วงเวลาก่อนเข้านอนอย่างน้อย 90 นาที
- จัดการกับความเครียด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ
การประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยอาการนอนไม่หลับ
แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อแยกอาการนอนไม่หลับออกจากความผิดปกติทางการนอนอื่น ๆ เช่น อาการขาดหายใจระหว่างการนอน (Obstructive sleep apnea) จากนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวิเคราะห์หาสาเหตุทั้งทางร่างกาย สภาพจิตใจ หรือปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดปัญหาในการนอน
นอกจากนี้ อาจมีการขอให้ผู้ป่วยบันทึกพฤติกรรมการนอนและตื่นของตนเอง เพื่อใช้ในการประเมินสาเหตุและความรุนแรงของการนอนไม่หลับ และช่วยติดตามความคืบหน้าระหว่างการรักษา หากแพทย์สงสัยว่ามีความผิดปกติของการนอนที่ซับซ้อน อาจแนะนำให้ใช้การตรวจ Polysomnogram โดยการเฝ้าดูสัญญาณต่าง ๆ ของร่างกาย และบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่โรงพยาบาลตลอดทั้งคืน
นพ.ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
ครอบครัวบำบัด กุญแจสำคัญสู่ชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกครอบครัวล้วนมีปัญหาภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ดูสมบูรณ์แบบแค่ไหนก็ตาม ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากความแตกต่างของบุคลิกภาพ
7 วิธีรับมือความเครียด หลังเจอเหตุการณ์รุนแรงกระทบจิตใจ
เมื่อคนที่เจอเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องที่คาดไม่ถึงและอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต จะทำให้เกิดความกลัว กังวล
6 สิ่งที่ควรแสดงออกกับผู้ป่วยซึมเศร้า
การพูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน บางคำพูดที่เรามีเจตนาดีจะสื่อออกไป กลับไปทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความกดดัน
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH