

เมื่อคนที่เจอเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องที่คาดไม่ถึงและอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต จะทำให้เกิดความกลัว กังวล รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิต ซึ่งแต่ละคนมีการตอบสนองต่อการเผชิญเหตุการณ์ความรุนแรงที่แตกต่างกัน จนทำให้มีความรู้สึกกังวล เศร้า โกรธ นอนไม่หลับ เสียสมาธิ คิดวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คนส่วนใหญ่จะมีอาการค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อเหตุการณ์ผ่านไประยะหนึ่ง แต่บางคนยังคงมีอาการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อาจเกิดเป็นโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า โรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง posttraumatic stress disorder (PTSD), หรือ โรคเครียดฉับพลัน Acute stress disorder (ASD)
อาการที่ควรมาพบแพทย์ ได้แก่ กังวล เศร้า หรือกลัวมาก , ร้องไห้บ่อย, โกรธ หงุดหงิด ไม่พอใจมาก, สมาธิความจำไม่ดี, ฝันร้าย นอนไม่หลับ, คิดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กลัวว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นอีก, หลีกเลี่ยงสถานที่ ผู้คน หรือสิ่งที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น, แยกตัวจากสังคม, มีอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง เหงื่อแตก ใจสั่นและตื่นตกใจง่าย
7 วิธีรับมือความเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง กระทบจิตใจ
- เมื่อเริ่มรู้สึกว่ามีความเครียด มีอารมณ์ร่วมกับข่าวมากไป ให้ดึงตัวเองออกจากการรับรู้ข่าวสาร งดการเข้าไปมีส่วนร่วมกับข่าว ทั้งการแชร์ การคอมเมนท์ที่รุนแรงเกรี้ยวกราว เนื่องจากเป็นการส่งต่อความรุนแรง
- ใช้เวลาอยู่กับคนที่คุณอยู่ด้วยแล้วสบายใจ ไว้ใจ พูดคุย ระบายความรู้สึก อย่าแยกตัวไปอยู่คนเดียว
- สงบจิตใจตัวเองด้วยการทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิกำหนดลมหายใจ เข้าสังคม พบปะเพื่อนฝูง ออกกำลังกาย
- ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ดูแลตัวเอง นอนพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่ควรใช้สุรายาเสพติด
- ถ้ามีความรู้สึกอยากร่วมช่วยเหลือในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถมีส่วนร่วมได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บริจาคเงิน
- ถ้ามีคนรู้จักมีความเครียดมากในเรื่องนี้ คุณสามารถช่วยเขาได้โดยการเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างไม่ตัดสินความคิดความรู้สึกของเขา ช่วยเหลือเขาเท่าที่คุณสามารถทำได้
- สังเกตอารมณ์ความรู้สึกตัวเอง หากเครียดมากไป ไม่สามารถรับมือได้ ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา
ทั้งนี้ การจัดการความเครียดจากเหตุการณ์รุนแรงเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและอาศัยความอดทน ผู้ที่พบเจอเหตุการณ์ความรุนแรงควรใจเย็นและค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม แต่ถ้าไม่สามารถจัดการความเครียดได้ แนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์ Bangkok Mental Health Hospital
บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคจิตเภทกับโรคจิตเวชต่างกันอย่างไร ทำเข้าใจเพื่อช่วยรับมือ
อาการป่วยทางใจ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ มีโอก […]

ADHD ในผู้ใหญ่: เมื่อสมาธิสั้นไม่ได้มีแค่ในเด็ก
หลายคนอาจเข้าใจว่าโรคสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder) เป็นปัญหาที่พบเฉพาะในเด็กเท่านั้น

ข้อแนะนำในการดูแลและรับมือเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่
สำหรับพ่อแม่ที่มีลูก ๆ เป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Defi […]
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH