ใครๆ ก็พูดว่าบ้านหรือครอบครัวเป็นพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ แต่คำกล่าวนี้อาจจะไม่จริงเสมอไปสำหรับใครบางคน ที่เผชิญกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมาอย่างยาวนานจนเกิดเป็นปมภายในจิตใจ โดยเฉพาะในวัยเด็กซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ อารมณ์และความรู้สึก สำคัญที่สุดคือนำไปสู่การมีปัญหาสุขภาพจิตได้
ความรุนแรงที่ผู้ใหญ่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ สามารถส่งผลกระทบต่อเด็กในหลากหลายด้าน ได้แก่
- ด้านร่างกาย: เด็กอาจได้รับบาดเจ็บจากการถูกทำร้าย, มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง, มีพัฒนาการทางร่างกายช้ากว่าปกติ, รวมถึงอาจมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า
- ด้านอารมณ์: เด็กมักจะรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อต้องอยู่ในครอบครัวที่มีปัญหาความรุนแรง รู้สึกกังวล ไร้ค่า ไม่มีความมั่นใจ ในขณะเดียวกันอาจทำให้เด็กกลายเป็นคนโมโหง่าย มีพฤติกรรมก้าวร้าวได้
- ด้านพฤติกรรม: อาจมีปัญหาด้านการเรียน การเข้าสังคม และอาจมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมร่วมด้วย
- ด้านความสัมพันธ์: เด็กที่เติบโตมาท่ามกลางปัญหาความรุนแรง จะไม่ค่อยไว้ใจผู้อื่น, มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวหรือกับเพื่อน
- ด้านการพัฒนา: เด็กจะมีพัฒนาการทางสติปัญญาช้ากว่าปกติ, มีปัญหาการตัดสินใจและแก้ปัญหา
ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น รูปแบบความรุนแรง ระยะเวลา ความรุนแรงของเหตุการณ์ เพศ อายุ และบุคลิกของเด็ก เด็กที่เผชิญกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ เช่น พ่อแม่ ครู เพื่อน หรือญาติ โดยการสร้างความปลอดภัยให้กับเด็ก, พูดคุยกับเด็กอย่างใจเย็น เข้าใจ และรับฟัง, สำคัญที่สุดคือการให้กำลังใจเด็กเพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกโดดเดี่ยว
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคแกล้งป่วย เมื่อความเจ็บป่วยกลายเป็นการแสดง
การเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบางกรณี ความเจ็บป่วยกลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่าง
5 อาการ โรคหลายบุคลิก
บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะคนเรามักมีการปรับตัวเข้ากับสังคม
โรคชอบขโมย ไม่ใช่แค่ “ขโมย” แต่เป็น “โรค”
การลักเล็กขโมยน้อย เป็นพฤติกรรมที่ใครเจอก็ต้องส่ายหัว เพราะต้องคอยระแวงข้าวของของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางจิตเวชมีอยู่ 1
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH