ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคจิตเภทร้อยละ 0.88 พบได้ทั้งเพสชายและเพศหญิงพอ ๆ กัน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจมาจาก 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่
- ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
- พันธุกรรม ญาติพี่น้องของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคจิตเภทสูงกว่าประชากรทั่วไป ยิ่งมีความใกล้ชิดทางสายเลือดมากก็ยิ่งมีโอกาสมาก โดยพบว่าความเสี่ยงของประชากรทั่วไปคือร้อยละ 1, ความเสี่ยงของพี่น้องผู้ป่วยคือร้อยละ 9, ความเสี่ยงของลูกที่พ่อหรือแม่ป่วยคือร้อยละ 13, ความเสี่ยงของคู่แฝดผู้ป่วย(แฝดคนละใบ)คือร้อยละ 17, ความเสี่ยงของคู่แฝดผู้ป่วย(แฝดไข่ใบเดียวกัน)คือร้อยละ 48
- ระบบสารเคมีในสมองไม่สมดุล
- ปริมาณเนื้อสมองน้อยกว่าปกติ และการทำงานโดยภาพรวมของสมองลดลง ซึ่งจะสัมพันธ์กับอาการด้านลบ การตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี บกพร่องด้านการรับรู้ความเข้าใจ
- ปัจจัยทางด้านสังคมและครอบครัว
สภาพครอบครัวมีผลต่อการกำเริบของโรค พบว่าครอบครัวของผู้ป่วยที่อาการกำเริบบ่อย จะมีการใช้อารมณ์ต่อกันสูง เช่น การตำหนิวิพากษ์วิจารณ์ มีท่าทีไม่เป็นมิตร หรือจู้จี้ยุ่งเกี่ยวกับผู้ป่วยมากเกินไป อย่างไรก็ตาม การรักษา
โรคจิตเภทจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคจิตเภทยังควรได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
Social Detox เพื่อชีวิตที่สมดุล
คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า
เช็กสัญญาณซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH