ชวนพ่อแม่สังเกตอาการผิดปกติทางจิตเวชและสัญญาณอันตราย ที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ หากลูกน้อยมีอาการเหล่านี้พ่อแม่ควรรีบพาไปพบจิตแพทย์เด็ก เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในระยะยาว
เช็กสัญญาณผิดปกติที่ควรพาไปพบจิตแพทย์เด็ก
เด็ก ๆ ในแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ และความคิดที่แตกต่างกันออกไป โดยหากพบอาการที่ผิดปกติ แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์
อาการผิดปกติของเด็กเล็ก
- ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากร่วมกิจกรรม หรือมีท่าทีวิตกกังวล
- พัฒนาการช้า ผลการเรียนไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่พยายามอย่างหนัก
- ร้องไห้ อาละวาด แบบไม่มีสาเหตุ
- ก้าวร้าว หรือไม่เชื่อฟังแบบไร้เหตุผล
- ฝันร้ายเป็นประจำ
- อยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ ต้องขยับทำนู่นทำนี่ตลอดเวลา
- สมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้นาน ๆ
- บางคนเก็บตัวเงียบ ไม่ร่าเริงเหมือนกับเด็กทั่วไป
อาการผิดปกติของเด็กโตและวัยรุ่น
- ชอบบ่นว่าตนเอง ป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นประจำ
- นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป
- ผลการเรียนตกลงมาก
- อารมณ์รุนแรง แปรปรวน และไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
- ใช้สารเสพติด ดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่
- ไม่สามารถแก้ปัญหาหรือตัดสินใจในเรื่องเล็ก ๆ ได้
- มีอาการซึมเศร้า ไม่อยากรับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารมากเกินไป
- ก้าวร้าว และมีอาการต่อต้านกับทุกสิ่งอย่างเห็นได้ชัด
- วิตกกังวลเรื่องรูปร่างอยู่เสมอ
10 สัญญาณอันตรายหรือความผิดปกติทางจิตเวชในเด็ก
สัญญาณความผิดปกติทางจิตเวชในเด็กที่พ่อแม่ควรพาลูกมาพบจิตแพทย์เด็ก เพื่อดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด มีทั้งหมด 10 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
1. ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
เป็นกลุ่มที่เรียนรู้ได้ช้า ทำให้มีทักษะการปรับตัว การคิด และการใช้ชีวิตที่ช้ากว่าเด็กในช่วงวัยเดียวกัน และเมื่อวัดระดับไอคิว จะต่ำกว่า 70 แนะนำให้พบจิตแพทย์เด็กเพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด
2. ความผิดปกติทางด้านการสื่อสาร
ไม่สามารถพูด แสดงท่าทาง หรือตีความหมายต่าง ๆ ได้
3. ความผิดปกติของการประสานงานของกล้ามเนื้อ
ภาวะที่กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
4. ความผิดปกติของสมองในการเรียนรู้
ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ โจทย์คณิตศาสตร์ และการเขียนสื่อความหมาย
5. ความผิดปกติทางด้านพัฒนาการหลายด้าน
มักมีอาการพูดช้าหรือไม่พูดเลย ไม่สามารถพูดจาโต้ตอบได้ ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็ก ๆ ที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน
6. ความตั้งใจบกพร่อง และพฤติกรรมแตกแยก
ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. โรคสมาธิสั้น 2. โรคพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว และ 3. โรคดื้อต่อต้าน หากพบว่าลูกไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้ แนะนำให้พามาพบจิตแพทย์เด็กเพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงยิ่งกว่าเดิม
7. ความผิดปกติในพฤติกรรมการกิน
ทั้งการรับประทานสิ่งผิดปกติ การกลืนแล้วอาเจียนออก ไปจนถึงการป้อนอาหารจนกระทั่งเด็กพัฒนาการช้ากว่าปกติ
8. ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระ
เป็นภาวะที่เด็กไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายของตนเองได้ หรือกลั้นไม่อยู่ มักเกิดในช่วงเวลากลางคืน
9. อาการกระตุกของกล้ามเนื้อต่าง ๆ อย่างไม่เป็นจังหวะ
ทำให้มีอาการกระตุกซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ซึ่งจะมีทั้งแบบชั่วคราว และแบบเรื้อรัง ควรพาไปพบจิตแพทย์เด็กเพื่อทำการรักษาต่อไป
10. ความผิดปกติอื่น ๆ
อาจจะเกิดจากความกังวล โดยแกล้ง ซึ่งผู้ปกครองจะต้องสังเกตว่าเด็ก ๆ มีพฤติกรรมที่ผิดไปจากเดิมหรือไม่ อย่างเช่น การกัดเล็บ หรือดูดนิ้ว
แบงค็อก เมนทัล เฮลท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคจิตเวชเด็ก
โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต ในเครือโรงพยาบาลเวชธานี มีจิตแพทย์เด็กที่มากประสบการณ์ ผู้ปกครองที่กำลังคิดว่าจะพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็กหรือจิตแพทย์วัยรุ่นที่ไหนดี สามารถนัดหมายเพื่อปรึกษากับจิตแพทย์เด็กได้ที่เบอร์ 02-589-1889
บทความที่เกี่ยวข้อง
นอนไม่หลับ นับแกะช่วยได้จริงหรือ?
อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เป็นปัญหาในการนอนหลับที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในวัยทำงานขึ้นไป โดยอาจมีอาการหลับยาก ตื่นกลางดึกบ่อย
เมื่อคนใกล้ตัวเป็นซึมเศร้า ความเข้าใจคือยาที่ดีที่สุด
การมีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องการความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การรับมืออย่างเหมาะสม นอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วย
กลัวการปฏิเสธ อยากให้ทุกคนรัก จุดเริ่มต้นของการเป็น “People Pleaser”
หากคุณเป็นคนที่มักตอบรับทุกคำขอ ชอบเอาใจใส่คนอื่นเป็นพิเศษ หรือพยายามทำให้ทุกคนพึงพอใจแม้ต้องเสียสละความสุขของตัวเอง
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH