Burnout หรือภาวะหมดไฟ เป็นการตอบสนองต่อภาวะกดดันจากการทำงาน ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องและยาวนานจนเกิดอาการทางร่างกาย เช่น มีอาการเหนื่อยล้าจากการทำงาน สมาธิลดลง มองความสัมพันธ์ในที่ทำงานไปในทางลบ อารมณ์ไม่ดี มุมมองต่อตัวเองแย่ลง จนเกิดผลกระทบต่อการทำงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
อาการภาวะหมดไฟ แบ่งเป็น 3 ด้าน
Emotional Exhaustion ความเครียดทางอารมณ์ คืออารมณ์ความรู้สึกเหนื่อย เพลีย อ่อนแรง อ่อนล้า ไม่อยากปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน ไม่อยากจัดการปัญหาเพราะความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น
Depersonalization คือทัศนคติและพฤติกรรมเชิงลบที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นการแยกตัวจากสังคม ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์ รู้สึกตัวเองแปลกแยกจากคนอื่น และความรับผิดชอบต่องานลดลง
Reduced Personal Achievement การประเมินตนเองเชิงลบ สงสัยและไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเอง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง รวมถึงทักษะในการเผชิญปัญหาลดลง
สาเหตุของภาวะหมดไฟ แบ่งเป็น 2 ด้าน
1.สาเหตุจากองค์กร
- งานหนักเกินไป
- ข้อจำกัดการแสดงอารมณ์ในที่ทำงาน อาจเป็นการต้องคุมอารมณ์ด้านลบ เช่น หงุดหงิด ความโกรธ ความกลัว หรือต้องแสดงออกอารมณ์บางอย่างทั้งที่ไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น เช่น การเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการ หรือแสดงออกถึงความมั่นใจทั้งที่รู้สึกกังวลหรือกลัว
- ขาดอิสระในการตัดสินใจทำงาน
- บทบาทหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายไม่ชัดเจนหรือได้รับข้อมูลในการทำงานไม่เพียงพอ
- รู้สึกไม่ยุติธรรมในการทำงาน เช่น ถูกจับตาดูการทำผิด โดนสั่งงานมากกว่าเพื่อนร่วมงาน
- ขาดการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน หรือเกิดความขัดแย้งกันในที่ทำงาน
- จัดชั่วโมงการทำงานไม่ได้ ทำให้ไม่มีเวลาให้ครอบครัว หรือชีวิตส่วนอื่นนอกจากงาน
2. สาเหตุนิสัย
- เก็บตัวไม่ชอบเข้าสังคม อารมณ์แปรปรวนง่าย ไม่เห็นใจผู้อื่น ชอบควบคุมสถานการณ์ทำให้เกิดภาวะหมดไฟได้ง่าย
แนวทางการป้องกันภาวะหมดไฟ
- เปิดรับมุมมองความเห็นที่แตกต่าง ควบคุมอารมณ์ได้ดี เข้าใจผู้อื่น ชอบเข้าสังคม เป็นปัจจัยที่ป้องกันภาวะหมดไฟได้
- การสนับสนุนทางสังคม ถ้ามีการสนับสนุนที่เพียงพอ ไม่ว่าจากครอบครัว สามี-ภรรยา เพื่อนร่วมงาน ลดโอกาสเกิดภาวะหมดไฟ
- วิธีการจัดการปัญหา การแก้ปัญหาโดยมุ่งเน้นกับปัญหา problem-focused coping จะลดโอกาสเกิดภาวะหมดไฟ แต่ถ้าแก้ปัญหาโดยจัดการกับอารมณ์เชิงลบ จะทำให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงปัญหา และแยกตัวจากสังคมตามมา
อย่างไรก็ตามอาการภาวะหมดไฟไม่ใช่เรื่องไกลตัว หากสังเกตอาการตัวเองและคนรอบข้างได้เร็ว ก็สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองต่อตนเองและการทำงานรวมไปถึงการจัดการเวลาการทำงาน พักผ่อนให้เหมาะสม หากยังไม่สามารถขจัดปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้แนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการและการรักษาที่เหมาะสม
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าซ่อนเร้น
อาการซึมเศร้าอาจแฝงตัวอยู่ในพฤติกรรมที่ดูปกติ แต่กลับส่งผลกระทบลึกซึ้งโดยไม่ทันรู้ตัว การเรียนรู้ที่จะสังเกตและเข้าใจสัญญาณ
ปลดล็อกศักยภาพ พร้อมเผชิญหน้ากับ Impostor Syndrome
ใครเคยเป็นบ้าง รู้สึกไม่มั่นใจในศักยภาพของตัวเอง ต่อให้คนอื่น ๆ จะชื่นชมเราแค่ไหน ก็มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า “เราดีจริงๆ
“สุขภาพจิตของครู”
วันที่ 16 มกราคมของทุกปี เป็นวันครูแห่งชาติ วันที่ทุกคนหันมาระลึกถึงความสำคัญของครูผู้เป็นเสาหลักในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH