ในช่วงฤดูหนาวใกล้สิ้นปี เป็นช่วงที่ใครหลายคนชอบท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อไปรับลมหนาวและสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติ พักผ่อนจากความเหนื่อยล้าในการทำงานมาตลอดทั้งปี แต่สำหรับผู้ที่กลัวเครื่องบิน การท่องเที่ยวอาจกลายเป็นเรื่องยากลำบาก จนทำให้ตัวเองพลาดโอกาสที่จะได้ท่องเที่ยวไปชมสถานที่สวย ๆ ด้วยตาตัวเอง
โรคกลัวเครื่องบิน เป็นอาการกลัวหรือวิตกกังวลอย่างรุนแรงเมื่อต้องขึ้นเครื่องบิน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก สาเหตุของอาการกลัวเครื่องบินนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น
- ประสบการณ์ที่ไม่ดีในการขึ้นเครื่องบิน เช่น เคยประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกหรือเคยรู้สึกไม่สบายขณะอยู่บนเครื่องบิน
- การรับชมสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องบินตกหรืออุบัติเหตุทางอากาศ
- ความกลัวความสูงหรือความกลัวการถูกจำกัดพื้นที่
6 เทคนิคพิชิตอาการกลัวเครื่องบิน
- กล้าที่จะเริ่มต้นออกเดินทาง – การมองข้ามช็อตไปถึงสถานที่ที่เราอยากจะไป การโฟกัสที่ปลายทาง หรือความตื่นเต้นที่จะได้ไปเห็นสถานที่ในฝันด้วยตัวคุณเอง ทำให้เราเริ่มมองการเดินทางเป็นจุดเริ่มต้นของความสุข ไม่ใช่สิ่งที่สร้างความวิตกกังวลหรือความกลัวให้กับตัวคุณ
- เริ่มเดินทางด้วยเครื่องบินระยะใกล้ – จากที่เมื่อก่อนเดินทางไปเที่ยวในประเทศด้วยการขับรถส่วนตัว นั่งรถไฟ หรือนั่งรถโดยสาร ลองเปลี่ยนมาขึ้นเครื่องบินท่องเที่ยวในประเทศสักครั้ง ที่ใช้ระยะเวลาการเดินทางโดยเครื่องบินไม่เกิน 1 ชั่วโมง จะทำให้รู้สึกไม่นานหรือตึงเครียดจนเกิดความวิตกกังวลมากเกินไป ซึ่งหากมีครั้งแรกแล้วผ่านไปด้วยดี ครั้งต่อไปอาจติดใจการนั่งเครื่องบินแล้วก็ได้
- เลือกที่นั่งให้เหมาะสม – สำหรับมือใหม่ที่มีความกังวลมาก อาจเลือกนั่งใกล้คนที่ไปด้วย เลือกที่นั่งติดกัน หรืออาจเลือกที่นั่งติดทางเดิน เพราะการที่มีคนเดินไปเดินมาใกล้ ๆ และพร้อมจะลุกออกได้ง่าย อาจทำให้รู้สึกสงบใจได้ง่ายมากขึ้น และถ้าเป็นคนที่กลัวความสูงมาก ควรหลีกเลี่ยงนั่งริมหน้าต่างเพื่อเป็นการป้องกันความวิตกกังวลที่อาจจะเกิดในช่วงการเดินทาง
- อย่าปล่อยเวลาไปเฉยๆ หาอะไรมาทำ – การนั่งนิ่ง ๆ เฉย ๆ อาจดูน่าเบื่อหรือบางครั้งก็สร้างความกังวลมากเกินไป แนะนำให้ลองพกหนังสือที่ชอบซักเล่มขึ้นไปนั่งอ่านหรือดาวน์โหลด podcast ที่ชอบไปนั่งฟังก็จะทำให้การเดินทางในแต่ละครั้งผ่านไปได้อย่างรวดเร็ว
- คิดในแง่บวก – หากเกิดตกหลุมอากาศขึ้นมา อย่าเพิ่งตกใจจนเกินไป เพราะกัปตันบนเครื่องบินถูกฝึกมาอย่างดี กำลังพยายามนำทุกคนกลับสู่สภาวะปกติอีกครั้ง ปัจจุบันเครื่องบินสมัยใหม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยังมีอุปกรณ์ช่วยติดตามการเดินทาง ทำให้ความปลอดภัยของการเดินทางด้วยเครื่องบิน ปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิมและท่องคาถาในใจว่า หนึ่งในล้านหรือน้อยกว่านั้นที่จะเกิดอุบัติเหตุได้
- ทำจิตใจให้สงบ – เมื่อพยายามทำทุกข้อ แต่ถ้าสุดท้ายยังมีความวิตกกังวลอยู่ ลองฝึกหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ จะรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น บางคนอาจลองสวดมนต์บทสั้น ๆ หรือทำสมาธิเป็นช่วง ๆ อาจช่วยทำให้ลดความวิตกกังวลลงไปได้
ทั้งหมดนี้เป็นเคล็ดลับที่จะทำให้กล้าลองเดินทางด้วยเครื่องบินสักครั้ง สำหรับคนที่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเดินทาง หรือกลัวเครื่องบิน อย่าลืมมองข้ามช็อตไปที่จุดหมายปลายทางที่กำลังจะไปพบเจอ รับรองว่า ความสุขและความสนุกรออยู่แน่นอน
หากปฏิบัติครบ 6 ข้อแล้วอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม โดยการรักษาโรคกลัวเครื่องบินเริ่มจากการบำบัดทางจิตที่จะช่วยปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความกลัวเครื่องบิน รวมไปถึงการรักษาด้วยยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการทางกายที่เกี่ยวข้องกับความกลัวเครื่องบิน เช่น อาการใจสั่น หายใจถี่ หรือเหงื่อออก
ทั้งนี้การรักษายังอาจขึ้นอยู่กับภาวะทางจิตใจว่ามีความพร้อมมากแค่ไหนในการจะเอาชนะโรคกลัวเครื่องบินให้หายไปได้
นพ.กฤตธี ภูมาศวิน
จิตแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
แค่สูบบุหรี่ เท่ากับเสี่ยงโรคซึมเศร้า
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการสูบบุหรี่ช่วยลดความเครียดและทำให้รู้สึกผ่อนคลาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว นิโคตินในบุหรี่กลับส่งผลกระทบต่อสมองและร่างกาย
หยุดพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
พฤติกรรมเกเรก้าวร้าวในเด็กเป็นปัญหาที่พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนกังวลใจ เพราะหากเด็กมีพฤติกรรมเหล่านี้ไปเรื่อย ๆ อาจสร้างปัญหา
Othello Syndrome หึงมาก หวงมาก ต้นเหตุทำรักพัง
ความรักที่สวยงาม เป็นสิ่งที่ใครก็ต้องการ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความรักที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน บางคนอาจเจอปัญหาแฟนขี้หึง ขี้หวงอย่างรุงแรง
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH