โรคแพนิค (Panic disorder) เป็นโรคทางการแพทย์ ชนิดหนึ่งที่มีอาการแสดงออกทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยมีอาการแพนิคหรืออาการตื่นตระหนกเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพคือ การรักษาโดยการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้านอาการแพนิค , การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคแพนิคพร้อมกับให้คำปรึกษา , การรักษาด้านจิตใจเบื้องต้น , ส่วนรายที่มีปัจจัยด้านจิตสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องต้องใช้การรักษาประคับประคองร่วมกับการใช้ยาจะทำให้มีประมีสิทธิภาพที่ดี และผู้ป่วยบางรายที่มีอาการกลัวมาก จะใช้วิธีการรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัดร่วมกับการใช้ยาจะทำให้มีประสิทธิภาพการรักษาที่ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ หากผู้รับบริการได้รับยาที่ถูกชนิด ถูกขนาด จะทำให้อาการดีขึ้นหลังได้รับการรักษาไปประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ และเมื่อแพทย์ปรับยาจนได้ขนาดที่เหมาะสมแล้ว อาการตื่นตระหนกจะหายไป ซึ่งโดยเฉลี่ยจะกินยานานประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ แม้ว่าจะไม่มีอาการแต่ผู้ป่วยก็ยังจำเป็นต้องกินยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 6 – 12 เดือน จากนั้นแพทย์จะค่อย ๆ ลดขนาดยาลง
อย่างไรก็ตามการหยุดยาต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้การแนะนำของแพทย์อย่าหยุดกินยาเองเพราะอาจเกิดอาการไม่สบายบางอย่างขึ้นมาได้ เช่น หงุดหงิด กระวนกระวาย หรือนอนไม่หลับ เป็นต้น โดยการเกิดอาการเหล่านี้ ไม่ได้เกิดจากการติดยา แต่เป็นเพราะอยู่ในช่วงเวลาของการปรับตัวของเซลล์ประสาทและการสร้างสารสื่อประสาทในสมองซึ่งต้องใช้เวลา ซึ่งถ้าหากทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดก็จะสามารถรักษาโรคแพนิคได้
ศาสตราจารย์นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์
จิตแพทย์ที่ปรึกษาโรงพยาบาล Bangkok Mental Health
บทความที่เกี่ยวข้อง
ครอบครัวบำบัด กุญแจสำคัญสู่ชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกครอบครัวล้วนมีปัญหาภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ดูสมบูรณ์แบบแค่ไหนก็ตาม ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากความแตกต่างของบุคลิกภาพ
7 วิธีรับมือความเครียด หลังเจอเหตุการณ์รุนแรงกระทบจิตใจ
เมื่อคนที่เจอเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องที่คาดไม่ถึงและอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต จะทำให้เกิดความกลัว กังวล
6 สิ่งที่ควรแสดงออกกับผู้ป่วยซึมเศร้า
การพูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน บางคำพูดที่เรามีเจตนาดีจะสื่อออกไป กลับไปทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความกดดัน
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH