8 เคล็ดลับห่างไกลจาก “ภาวะสมองเสื่อม”

Share
8 เคล็ดลับห่างไกลจาก ภาวะสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อม คือ ภาวะที่สมองทำงานผิดปกติส่งผลให้มีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม บุคคลิกภาพเปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป

ภาวะสมองเสื่อมเกิดได้หลายสาเหตุ

นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดภาวะสมองเสื่อมโดยตรง แต่ทำให้เกิดอาการหลงลืมคล้ายภาวะสมองเสื่อม (Pseudodementia) เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล เป็นต้น ซึ่งภาวะเหล่านี้เมื่อได้รับการรักษาก็จะทำให้ความจำกลับมาดีขึ้นได้

การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม

ทำได้โดยการซักประวัติจากผู้ป่วย และญาติ รวมไปถึงการตรวจร่างกาย ทำแบบทดสอบการทำงานของสมอง (Cognitive assessment) ตรวจเลือด สแกนสมอง เพื่อประเมินสาเหตุ และระยะของโรค

การรักษาภาวะสมองเสื่อม

  1. หากตรวจพบว่าภาวะสมองเสื่อมเกิดจากสาเหตุที่แก้ไขได้ เช่น ภาวะขาดสารอาหาร การรักษาที่ต้นเหตุจะช่วยให้การทำงานของสมองกลับมาดีขึ้นได้
  2. ภาวะสมองเสื่อม ที่เกิดจากสาเหตุที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

ในปัจจุบัน เช่น โรคอัลไซเมอร์ การรักษาก็จะเป็นการพยายามชะลอ ลดอัตราความเสื่อมของสมองให้ช้าลง โดยการใช้ยา การลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงการทำกิจกรรมกระตุ้นการทำงานสมอง

การป้องกันภาวะสมองเสื่อม

ทั้งนี้ ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยรวมถึงบุคคลรอบข้างเนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสจะมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และจำเป็นต้องพึ่งพาบุคคลรอบข้างมากขึ้น ดังนั้น การเฝ้าระวังสัญญาณของภาวะสมองเสื่อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เพราะ ยิ่งตรวจพบและรักษาเร็ว ก็จะยิ่งมีโอกาสชะลอความเสื่อมของสมองได้

นพ.ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเพิ่มเติม