เคยสงสัยหรือไมว่าอาการเหล่านี้ …. เพื่อนนัดไปกินข้าว แต่ลืมว่ามีนัด, ออกไปซื้อของหน้าปากซอย แต่จำทางกลับบ้านไม่ได้, อาบน้ำเสร็จลืมปิดน้ำจนน้ำท่วมห้องน้ำ เป็นอาการของภาวะสมองเสื่อม (Dementia) หรือเป็นอาการหลงลืมทั่วไปกันแน่ (Forgetfulness) ลองเช็กลิสต์ให้ชัวร์ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มไหน
อาการหลงลืมทั่วไปตามอายุ
- ลืมบ้างแต่ไม่บ่อยนัก
- ยังจำได้ นึกได้ว่า ลืมอะไร รู้ตัวว่าลืม
- กังวลเกี่ยวกับอาการหลงลืมของตัวเอง
- อาจจำวันที่ไม่ได้บ้าง ชั่วครั้งชั่วคราว
- ทำของหายบ้าง แต่ไม่บ่อย
- ลืมชื่อคนรู้จักที่ไม่สนิท
- จำรายละเอียดบทสทนาที่เคยคุยกันไว้เมื่อนานมาแล้วไม่ได้
- นึกคำพูดไม่ออกบ้างเป็นบางครั้ง ไม่รบกวนการสนทนามาก
- ยังทำกิจวัตรประจำวัน ช่วยเหลือตัวเองได้ตามปกติ
อาการของภาวะสมองเสื่อม
- ลืมบ่อย, ลืมไปด้วยซ้ำ ว่าลืมอะไร ไม่รู้ตัวว่าลืม
- ญาติกังวลเกี่ยวกับอาการหลงลืมของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าหลงลืม
- อาจสับสนเวลากลางวัน กลางคืน รวมถึงสับสนเดือน ปี
- ทำของหายบ่อย อาจเริ่มระแวงว่าคนอื่นขโมยไป
- ลืมชื่อญาติสนิท
- เพิ่งคุยกันเมื่อไม่นาน แต่ก็จำไม่ได้แล้ว
- นึกคำพูดไม่ออกบ่อย ๆ จนกระทบการสนทนา เช่น ใช้คำไม่ตรงกับความหมาย ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนเคยใช้ถูก
- อาการหลงลืมรบกวนการช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน
- หลงทาง แม้ในที่ที่คุ้นเคย
- บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป อาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือ หุนหันพลันแล่นมากกว่าปกติ
ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง หากมีอาการที่เข้าข่ายภาวะสมองเสื่อม เกิดขึ้นบ่อย ๆ แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการประเมินโดยละเอียด เพื่อหาสาเหตุที่อาจแก้ไขได้ และพยายามชะลอการดำเนินโรค เนื่องจากโรคสามารถมีความรุนแรงมากขึ้นและทำให้ต้องพึ่งพาคนรอบข้างเพิ่มมากขึ้น หากตรวจพบและรักษาได้เร็วก็จะเพิ่มโอกาสการชะลอความเสื่อมของสมองได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคแกล้งป่วย เมื่อความเจ็บป่วยกลายเป็นการแสดง
การเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบางกรณี ความเจ็บป่วยกลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่าง
5 อาการ โรคหลายบุคลิก
บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะคนเรามักมีการปรับตัวเข้ากับสังคม
โรคชอบขโมย ไม่ใช่แค่ “ขโมย” แต่เป็น “โรค”
การลักเล็กขโมยน้อย เป็นพฤติกรรมที่ใครเจอก็ต้องส่ายหัว เพราะต้องคอยระแวงข้าวของของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางจิตเวชมีอยู่ 1
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH